[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : สี่คำถามพื้นฐานของ \"การจัดการศึกษา\" เพื่อ \"การพัฒนาประเทศ\"
บทความ



 

สี่คำถามพื้นฐานของ "การจัดการศึกษา" เพื่อ "การพัฒนาประเทศ"
                   การศึกษา คือ เครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาประเทศ เนื่องจากโดย "กระบวนการ" (process) และ "เนื้อหา" (contents) ของการจัดการศึกษา นำมาซึ่งการขัดเกลาเพื่อสร้างสร้างบุคลิกภาพของ "คน" ให้มีพัฒนาการไปในทิศทางที่พึงประสงค์สำหรับที่จะเป็นพลังของการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน "การศึกษา" ในตัวของมันเอง มีทั้งด้านของ "ความเป็นองค์รวม" (totality) และด้านของ "ความสลับซับซ้อน" (complexity) ไปในเวลาเดียวกันประการแรก คือ ในด้านของความเป็นองค์รวมนั้น สามารถทำความเข้าใจได้โดยการมองการดำรงอยู่ของสังคมใดสังคมหนึ่งอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งในความเป็นองค์รวมนั้น จะมีมิติต่างๆรวมอยู่ด้วยกัน ทั้งมิติทางสังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง, วัฒนธรรม, ภูมิหลังทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ฯลฯ ซึ่ง "การศึกษา" จะแทรกตัว (integrated) อยู่ในทุกๆมิติของสังคมเหล่านี้ โดย "การศึกษา" จะเป็นทั้งปัจจัย (factor) ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละมิติข้างต้น ขณะเดียวกัน การศึกษาเองก็เป็นตัวรับอิทธิพล หรือ ถูกกำหนดจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปในเวลาเดียวกัน
ประการที่สอง ด้านที่เป็นความซับซ้อน (complexity) ของการศึกษา ก็คือ การศึกษาโดยตัวของมันเอง จะมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมมองไหน กล่าวคือ หากมองในแง่ประเภทของการศึกษา เราแบ่งแยกออกเป็น การศึกษาในระบบ (formal education), การศึกษานอกระบบ (non-formal education), และการศึกษาตามอัธยาศัย (informal education) หรือหากเรามองในแง่ความหลากหลายของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เราก็จะเห็นว่ามีหลายสถาบันที่ทำหน้าที่ด้านการศึกษา เริ่มจากสถาบันครอบครัว, โรงเรียน (ของรัฐ และของเอกชน), วัด, ปัจเจกบุคคล, หน่วยงาน หรือ องค์กรทางสังคมอื่นๆ
ซึ่งในความหลากหลายข้างต้น เราจึงมักพบ "ด้านที่เป็นความขัดแย้ง" (contradictions) ของการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องของ; ด้านปริมาณ และ คุณภาพของการจัดการศึกษา; ความขัดแย้งในเรื่องของการเน้นภาคทฤษฏีกับภาคปฏิบัติในการจัดการศึกษา; ความขัดแย้งในเรื่องของการเน้นพัฒนาด้านร่างกาย กับการพัฒนาทางด้านจิตใจ หรือ ด้านที่เป็นจริยธรรมของคน; ประเด็นความขัดแย้งในเรื่องของความแตกต่าง หรือ ความไม่เท่าเทียมด้านโอกาสทางการศึกษา; ไปจนถึงประเด็นเกี่ยวกับ ความขัดแย้งระหว่าง สิ่งที่เรียกว่า "เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์" ของการจัดการศึกษา กับ ด้านที่เป็น "ผลลัพธ์" ที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา นั่นเอง
ประเด็นต่างๆที่ชี้มาข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ประเด็นทาง "การศึกษา" ในฐานะเครื่องมือการพัฒนามนุษย์และสังคม ซึ่งจะขอกล่าวถึงและอธิบายในแต่ละประเด็นในลำดับต่อไป เบื้องต้น ผู้เขียนใคร่เสนอประเด็นคำถามเพื่อการวิเคราะห์/วิจารณ์ในหมู่ผู้สนใจประเด็น "การศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศ" ในบริบทของการพัฒนาประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน

สี่คำถามของ “การจัดการศึกษา” สำหรับเป็นเครื่องมือการพัฒนาประเทศ ได้แก่:
                        1) โอกาสสำหรับการศึกษาเปิดกว้างสำหรับคนส่วนใหญ่หรือไม่เพียงไร และ อย่างไร?
                        2) วิธีการเรียนการสอน (methods) และกระบวนการเรียนรู้ ได้เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการยกระดับวิธีคิดและจิตใจแบบวิทยาศาสตร์ อันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อเกิดแห่งความเจริญงอกงามอย่างสมดุลและเพียบพร้อมในทุกๆด้านของคนมากน้อยเพียงไร และ อย่างไร?
                         3) การศึกษามีการเชื่อมต่อ (combination) ระหว่าง “การเรียนรู้” และ “การประยุกต์ใช้ความรู้” ในชีวิตจริงของคน ทั้งในด้านหน้าที่การงานและชีวิตทางสังคมอื่นๆมากน้อยเพียงไร และ อย่างไร?
                         4) กระบวนการศึกษาเรียนรู้ได้เอื้อให้เกิดการผสมผสาน (integration) อย่างผสมกลมกลืนระหว่างสิ่งที่เรียกว่าเป็น “วัฒนธรรมกระแสดั้งเดิม (traditional) กับ วัฒนธรรมกระแสสมัยใหม่ (modernity)” ทั้งในสังคมระดับท้องถิ่นและในสังคมระดับชาติโดยรวมมากน้อยเพียงใด และ อย่างไร?
                        ประเด็นคำถามข้างต้น เหมาะสำหรับผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสำหรับ "ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน" ในฐานะผู้นำที่จะต้องบริหารแผนการพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ที่ถือว่าเป็นหน่วยงานการพัฒนาทางปัญญาของเยาวชนของชาติระดับแรกๆ ที่จะปูพื้นฐานการพัฒนาคนในระดับสูงขึ้นต่อไป ซึ่ง "เป้าหมาย" ที่ถือเป็นปณิธานร่วมของทุกฝ่ายในการจัดการศึกษา ก็คือ การมุ่งพัฒนาคนให้ถึงพร้อมความเจริญด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ โดยมุ่งที่การสร้างจิตสำนึกแห่งความผสมกลมกลืน, ความใจกว้าง, ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน, การยอมรับในความแตกต่างทางสังคม-วัฒนธรรม เพื่อให้แต่ละคนสามารถดำเนินชีวิตในท่ามกลางความหลากหลายของสังคมนี้ด้วยความผาสุก, ความเป็นปึกแผ่น, มีเสรีภาพ, และการใช้หลักแห่งเหตุผลในการพัฒนาสร้างสรรค์สังคมไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
 

 

 



ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพท.สป.2
เสาร์ ที่ 7 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2553
เข้าชม : 5300
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก