[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : สุริยุปราคาแบบต่างๆ
บทความ



 

โดยสุพจน์ กล้าหาญ
posted on 30 Jan 2009 13:07 by artopen
เงาของดวงจันทร์มี 2 แบบ คือ เงามืด กับเงามัวพื้นที่ส่วนใดบนโลกเงามืดของดวงจันทร์ทอดผ่านผู้คนในแทบนั้นจะมองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มืดหมดดวงเกิดเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงส่วนผู้คนในพื้นที่ที่งัวเคลื่อนผ่านจะมองเห็นเป็นสุริยุปราคาชนิดบ่างส่วนในกรณีที่เงามืดของดวงจันทร์ทอดผ่านเลยขั้วเหนือเหนือขั้วใต้ของโลกไปในอวกาศครั้งนั้นก็ไม่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงให้เห็นคงมีแต่เพียงสุริยุปราคาชนิดบ่างส่วนให้เห็นในพื้นที่ที่เงามัวเคลื่อนผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาแบบที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อเงามืดของดวงจันทร์เคลื่อนผ่านโลกแต่เงามือไม่ยาวพอที่จะตกลงสัมผัสพื้นโลกได้ปลายกรวยแหลมของเงามืดจึงตกลงที่จุดหนึ่งในอวกาศก่อนสัมผัสผิวโลกกรณีเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ไกลออกไปในวงโคจรรอบโลกจึงปรากฎมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์จนไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ให้มือมิดหมดดวงได้ยังคงมีขอบดวงอาทิตย์ เหลือล้อมดวงดำของดวงจันทร์ เรียกว่าเป็นสุริยุปราคาวงแหวน (Annular ecilpse) Annular มาจากภาษาละตินแปลว่าแหวน สุริยุปราคาแบบเต็มดวงสัมผัสแรกเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะขอบตะวันตกของดวงอาทิตย์ อีกราว 1 ชั่วโมงจึงเกิด สัมผัสที่2 เมื่อเริ่มเกิดเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ปรากฎการณ์พิเศษเช่นสร้อยลูกปัดเบลลี่ย์ แหวนเพชร หรือ แถบคลื่นเงาจะเห็นได้เฉพาะระยะใกล้สัมผัสที่2 และ 3 เท่านั้น ส่วนสัมผัสที่ 4 เกิดขึ้นเมื่อ ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านพ้นดวงอาทิตย์โดยสมบูรณ์เป็นการสิ้นสุดดุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราแบบบางส่วน
สัมผัสแรกเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะขอบตะวันของดวงอาทิตย์ แต่ไม่มีสัมผัสที่ 2 และ 3 คงมีแต่สัมผัสที่ 4 เมื่อสิ้นสุดปรากฎการณ์เท่านั้น
สุริยุปราคาวงแหวน
หลังจากเกิดสัมผัสที่ 1 แล้ว สัมผัสที่ 2 จึงเกิดขึ้นเมื่อดวงดำของดวงจันทร์ซ้อนบังหน้าโดยดวงอาทิตย์อยู่รอบดวงจันทร์ครั้งแรก สัมผัสที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เลื่อนแตะขอบวงแหวนสว่างของดวงอาทิตย์อีกข้างหนึ่งและสัมผัสที่4 คือเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านพ้นดวงอาทิตย์เมื่อสิ้นสุดการเกิดสุริยุปราคา

 

"เมื่อดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าสุริยุปราคาขึ้น"

            คำอธิบายง่ายๆ สั้นๆ ในเชิงเรขาคณิตทำให้เรานึกถึงภาพบนกระดาน2มิติ ที่มีวงกลม3วงใหญ่เล็กไม่เท่ากันมาเรียงกัน ซึ่งเป็นภาพที่ชินตาแต่จะมีสักกี่คนที่มีโอกาสเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ดังกล่าวเบื้องหลังกลไกที่แท้จริงของการเกิดสุริยุปราคาไม่ง่ายอย่างที่กล่าวข้างต้นทุกอย่างต้องเป็นความลงตัวทั้ง4มิติคือขนาดปรากฏของดวงจันทร์ที่ใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ระยะห่างที่เหมาะสมและช่วงเวลาที่พอดีปรากฏการณ์จึงจะเกิดขึ้นได้
เดือนสุริยุปราคา
           
เวลาหนึ่งเดือนตามความหมายที่เราใช้กันอยู่ก็คือระยะเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลกครบ1รอบพอดี ถ้าเช่นนั้นทุกๆ เดือนดวงจันทร์จะโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เสมอแล้วทำไมจึงไม่เกิดสุริยุปราคาทุกเดือนเล่า ?
 
            เหตุผลก็คือระนาบการโคจรของดวงจันทร์จะเอียงประมาณ5องศากับระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ดวงจันทร์จึงมักเคลื่อนไปอยู่ทางเหนือหรือทางใต้ของเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เสมอ เงาของดวงจันทร์จึงไม่ตกทดลองบนโลก แต่ทอดลงไปในอวกาศแทนช่วงที่จะเกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์จะต้องอยู่ที่จุดตัดหรือใกล้จุดตัดของระนาบเท่านั้นซึ่งปกติวงโคจรของดวงจันทร์จะตัดกับวงโคจรของโลกเพียง2จุดเท่านั้นตลอดระนาบโคจรจุดตัดระนาบ2จุดก็ไม่ใช่จุดตัดเดิมทุกครั้งแต่จะเคลื่อนจากทิศตะวันออกไปยังดะวันตก หรือเรียกว่าการเดินถอยหลัง(regression)การเคลื่อนไปทางตะวันตกเกิดเนื่องจากความแตกต่างของเวลาที่เรารู้จัก คือเดือนนั่นเองเดือนมีหลายแบบแบบที่เราคุ้นกันดีคือ
  • เดือนซินโหนดิค (synodice month)นับเดือนจากจันทร์เพ็ญหนึ่งจนถึงจันทร์เพ็ญถัดไป ซึ่งเดือนตามจันทรคตินี้มี29.53วัน
  • เดือนไซเดอเรียล (sidereal month)นับเวลาครบรอบการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์โดยเปรียบเทียบกับตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า เดือนไซเดอเรียลจะมีจำนวนวันน้อยกว่าเดือนซินโนดิคประมาณ2วัน คือ27.32วัน
  • เดือนอุปราคาหรือเดือนสุริยุปราคา (eclipse หรือdraconic month) นับจากคาบการโคจรจากจุดตัดระนาบจุดใดๆไปยังจุดถัดไปทางทิศตะวันตก มีจำนวนวันเท่ากับ27.21วัน
            จุดตัดระนาบสองจุดเรียกว่าจุดโหนด(nodes) ซึ่งยังแบ่งออกเป็น โหนดขึ้น(ascending node)และโหนดลง(descending node)ขี้นอยู่กับจังหวะการตัดระนาบของดวงจันทร์เช่นดวงจันทร์โคจรตัดระนาบวงโคจรของโลกจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือจุดตัดดังกล่าว เรียกว่าขึ้นโหนดตรงกันข้ามหากดวงจันทร์โคจรตัดระนาบจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ จุดตัดระนาบดังกล่าวก็เรียกว่าโหนดลง

           
สุริยุปราคาวันที่24 ตุลาคม 2538 เป็นช่วงโหนดขึ้น ถัดจากนี้ไปอีก6เดือน (เดือนสุริยุปราคา) จะเกิดสุริยุปราคาแบบโหนดลงในวันที่7เมษายน พ.ศ.2539และถัดจากนั้นอีก6เดือน (เดือนสุริยุปราคา)ก็จะกลับมาเกิดสุริยุปราคาแบบโหนดขึ้นอีกในวันที่12ตุลาคม พ.ศ.2539
 
            องค์ประกอบที่ทำให้เกิดสุริยุปราคาแบ่งออกเป็นหลายประเภทเนื่องจากระยะห่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกนั่นเองวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกและโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่เป็นวงกลมแต่เป็นวงรีระยะห่างของควงอาทิตย์และระยะห่างของควงจันทร์ถึงโลกจึงแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนซึ่งมีผลต่อขนาดปรากฏเล็กใหญ่ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ด้วย คือหากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ห่างโลกมาก ก็จะเห็นขนาดเล็กตามไปด้วยในความเป็นจริงโลกจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนมกราคมบางคนอาจแย้งว่า ทำไมตอนเดือนมกราคมจึงหนาวล่ะหากโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากก็น่าจะร้อนสิสาเหตุเรื่องความร้อนหนาวอยู่ที่แกนเอียงของโลกต่างหากเนื่องจากโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคมแต่ทว่ากลับหันด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์คนส่วนใหญ่ที่อยู่ซีกโลกเหนือจึงไม่รู้จักร้อนนั่นเองในเดือนมกราคมโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าช่วงเดือนมิถุนายนถึง ร้อยละ3 (ประมาณ4.8ล้านกิโลเมตร) .
            ส่วนระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์จะแตกต่างกันค่อนข้างมากคือใกล้สุด47,294กิโลเมตรไกลสุด398,581กิโลเมตรแตกต่างกันถึง15เปอร์เซ็นต์คาบเวลาที่นับจากจุดใกล้สุด จนถึงจุดใกล้สุดครั้งต่อไปกินเวลา27.55วัน เรียกว่าเดือนอะโนมาลิสติก (Anomalistic month)
            ระยะการเรียงตัวของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ยังมีผลต่อขนาดเงาของดวงจันทร์ที่ตกลงบนโลกในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาแต่ละครั้งด้วย เงาของดวงจันทร์ที่ตกลงบนโลกมี2ส่วนคือเงามืด (umbra)และเงามัว(penumbra) เงามืดที่เคยตกทอดถึงโลกเคยมีขนาดกว้างที่สุดถึง272กิโลเมตร ส่วนเงามัวจะกินอาณาบริเวณเลยออกจากเงามืดไปนับพันกิโลเมตรผู้คนที่อยู่ในเขตเงามืดก็จะเห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงส่วนผู้ที่อยู่ในเขตเงามัวก็จะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน
 
สุริยุปราคา 3 แบบ
           
สุริยุปราคาจะปรากฏเป็น สุริยุปราคาเต็มดวง สุริยุปราคาวงแหวนหรือ สุริยุปราคาแบบวงกลม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือตำแหน่งของดวงจันทร์ อยู่ใกล้จุดแค่ไหน และขนาดเล็กใหญ่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์บนท้องฟ้าสุริยุปราคาส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์เฉียดผ่านจุด
 ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์เพียงเสี้ยวเดียว เรียกว่าสุริยุปราคาบางส่วนประมาณ35เปอร์เซ็นต์ของการเกิดสุริยุปราคาจะเกิดแบบสุริยุปราคาบางส่วนสามารถเห็นได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างคนส่วนใหญ่จึงเคยมีประสบการณ์ในการเห็นสุริยุปราคาบางส่วนไค้ดวงจันทร์อาจบดบังดวงอาทิตย์เพียง1เปอร์เซ็นต์หรือบังถึง99เปอร์เซ็นต์ก็นับรวมเรียกว่าสุริยุปราคาบางส่วน
            สุริยุปราคาแบบวงแหวนนับเป็นสุริยุปราคาที่พบได้มากเป็นอันดับสองภาษาอังกฤษเรียกสุริยุปราคานี้ว่าAnnuIar Eclipseคำว่าAnnular มีรากศัพท์จากลาตินแปลว่าวงแหวนขณะเกิดสุริยุปราคาวงแหวนแสงอาทิตย์จะปรากฏเป็นวงกลมคล้ายแหวนล้อมรอบดวงจันทร์ดำมืดตรงกลางแม้ว่าดวงจันทร์จะมาบังอยู่ตรงกลางดวงอาทิตย์พอดีแต่บังไม่มิดเพราะขนาดปรากฏเล็กกว่า หมายความว่า ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ไกลจากโลกหรือ ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกจึงเห็นดวงใหญ่แสงสว่างจากวงแหวนจะกลบโคโรนา และบรรยากาศชมพูของโครโมสเฟียร์ที่สวยงามสุริยุปราคาแบบวงแหวนจะเกิดขึ้นประมาณ32เปอร์เซ็นต์
 
            สุริยุปราคาประเภทที่น่าสนใจที่สุดและสวยที่สุด ก็คือสุริยุปราคาเต็มดวงจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ28เปอร์เซ็นต์ผู้ที่ได้พบเห็นมักจะประทับใจที่ได้เห็นท้องฟ้าเวลากลางวันแปรเปลี่ยนเป็นเวลากลางคืนจนเห็นดวงดาว และที่พิเศษรอบดวงอาทิตย์จะเห็นแสงเงินยวงของรัศมีโคโรนาคล้ายมงกุฎที่ครอบดวงอาทิตย์เอาไว้
           
สุริยุปราคาแบบสุดท้ายคือสุริยุปราคาแบบวงแหวน-เต็มดวงแบบนี้เกิดขึ้นน้อยมากเพียงแค่5เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และไม่น่าสนใจนัก เพราะจะเกิดเป็นวงแหวนไม่นาน และเมื่อกลายเป็นเต็มดวงก็จะเกิดเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
นาทีแห่งความประทับใจ
           
ช่วงเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนั้นน้อยเสมอเวลานานสุดที่ช่วงคราสจับเต็มดวงเท่าที่เคยเกิดขึ้นบนโลกไม่เกิน7นาที8วินาทีส่วนใหญ่จะเกิดในเวลาสั้นกว่านี้มาก เช่น สุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่24 ตุลาคม 2538ที่ผ่านมาจะเต็มดวงนานเพียงนาทีกับ58วินาทีเท่านั้นสุริยุปราคาวงแหวนก็มักจะเกิดในเวลาไม่กี่นาทีเช่นกัน แต่ที่นานที่สุดเคยเกิดนานถึง12นาที24วินาทีส่วนสุริยุปราคาบางส่วนนั้นอาจเกิดเพียงไม่กี่วินาทีจนถึงมากกว่า2ชั่วโมง แต่สำหรับการเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบวงแหวนนั้นผู้ชมยังจะได้ชมการเกิดสุริยุปราคาบางส่วนก่อนและหลังการเต็มดวงเป็นเวลานานหลายชั่วโมงอีกด้วย
 
            ช่วงเวลาการเกิดสุริยุปราคาสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการเรื่องแรกคือ ขนาดปรากฏระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์หากดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มากก็จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้นานแต่หากดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากก็จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวนได้นาน
           
องค์ประกอบตัวต่อมาที่เป็นตัวกำหนดระยะเวลาการเกิดสุริยุปราคาก็คือตำแหน่งละติจูดของโลกที่เงาของดวงจันทร์กระทบอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกๆ จุดบนโลกนี้หมุนรอบตัวเอง ครบ1รอบใช้เวลา24ชั่วโมงเท่ากันแต่ใช้ความเร็วในการหมุนไม่เท่ากันทุกจุด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนผิวโลกถ้าเรายืนอยู่บนเส้นศูนย์สูตรที่ผ่ากึ่งกลางซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้เท่าๆ กัน เราจะใช้ความเร็วในการหมุนรอบโลกเท่ากับ1,500กิโลเมตร/ชั่วโมง ไปทางทิศดะวันออก แต่ถ้าเรายืนอยู่บนเส้นรุ้ง (ละติจูค) ที่40องศาเหนือ หรือที่40องศาใต้ เราจะใช้ความเร็วเพียงแค่900กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้นในการหมุนครบรอบโดยเฉพาะที่ขั้วโลกไม่ต้องใช้ความเร็วเลยเงาของดวงจันทร์ที่ตกกระทบผิวโลกมีทิศทางเคลื่อนที่จากตะวันตกไปทางตะวันออกด้วยความเร็วประมาณ2,500กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับที่โลกเคลื่อนที่หมายความว่า ความเร็วของโลกที่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรสามารถชะลอความเร็วของดวงจันทร์ได้นานกว่าบริเวณใกล้ขั้วโลกสุริยุปราคาที่เกิดบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีโอกาสเกิดนานกว่านั่นเองมีความพยายามที่จะใช้เครื่องบินไล่เงาจันทร์เพื่อจะได้เพิ่มโอกาสเห็นสุริยุปราคาได้นานขึ้นผลก็คือ เครื่องบินโดยสารคองคอร์ดทำได้ถึง70นาที
           
องค์ประกอบ 2 ประการสุดท้ายที่มีผลต่อระยะเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงและวงแหวนก็คือการเลือกตำแหน่งสังเกตการณ์ที่เหมาะสมจากแนวเงาตะวันตกถึงตะวันออกประการหนึ่ง และการเลือกตำแหน่งกึ่งกลางคราสอีกประการหนึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแนวเงามืดจะเกิดไล่จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกในช่วงต้นของการเกิดคือเวลาเช้า และในช่วงปลายของการเกิดคือ ในเวลาเย็นเงาดวงจันทร์ที่มาตกกระทบจะเอียงทำมุมกับผิวโลกมาก ในลักษณะเช่นนี้ความเร็วของเงาจะมากกว่าบริเวณที่เงาตกกระทบตรงๆหมายความว่าในการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงหรือวงแหวนแต่ละครั้งช่วงต้นและช่วงปลายจะเกิดสั้นกว่าช่วงกลาง
 
 
วัฎจักรสุริยุปราคา
           
การเกิดสุริยุปราคาสามารถคำนวณล่วงหน้าและย้อนหลังได้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ และวิชากลศาสตร์ท้องฟ้า
           
จากความสัมพันธ์ระหว่างเดือนประเภทต่างๆ นั้นพบว่าเดือนตามปกติหรือ เดือนซินโหนดิค ซึ่งมี29.53วันนั้นมีความสำคัญเนื่องจากเป็นเดือนที่ใช้กำหนดข้างแรมข้างขึ้น เดือนสุริยุปราคาที่มี27.21วันก็มีความสำคัญเพราะใช้กำหนดตำเเหน่งที่ดวงจันทร์เข้าใกล้จุดโหนดและ เดือนอะโนมาลิสติก27.55วัน ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะตำแหน่งใกล้ไกลของดวงจันทร์จากโลกในวงโคจรเป็นตัวกำหนดว่าจะเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงหรือวงแหวนจากความสัมพันธ์ของเดือนดังกล่าวจะพบว่า
  • 223เดือนซินโหนดิค =6585.32วัน
  • 242เดือนสุริยุปราคา =6585.35วัน
  • 239เดือนอะโนมาลิสติก =6585.53วัน
            เราพบว่าตัวเลข6585.32วันมีค่าเท่ากับ18ปีกับ11 1/3วัน หมายความว่า ทุกๆ18ปีกับอีก11 1/3วันดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกจะโคจรกลับมาอยู่ในแนวตรงกันในตำแหน่งเดิมในอวกาศและสุริยุปราคาที่เคยเกิด ขึ้นเมื่อ18ปีก่อน ก็จะย้อนกลับมาปรากฏอีกครั้งเป็นสุริยุปราคาชุดเดียวกัน แต่ไม่ได้เกิดตำแหน่งเดิม แต่จะเลื่อนไปเกิดห่างจากบริเวณเดิมบนผิวโลกประมาณ120องศา เป็นเพราะว่าเศษเวลา1/3วันนั้น โลกเคลื่อนไป120องศาแล้วนั่นเอง

           
วัฏจักรการเกิดสุริยุปราคาที่ถูกค้นพบนี้ ถูกเรียกว่าซารอสและมีการตั้งชื่อให้ด้วยว่าเป็นซารอสที่ 1 ซารอสที่ 2ยกตัวอย่างเช่นซารอสที่ 136สุริยุปราดาเต็มดวงชุดนี้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดนานที่สุดชุดหนึ่งคือเกิดใน ค.ศ.1919 , 1937 , 1955, 1973และที่ลืมไม่ได้คือในปี1991
           
นักดาราศาสตร์เปรียบเทียบ ซารอสเหมือนเป็นอนุกรมหรือสายพันธุ์ฟังดูแล้วเหมือนสุริยุปราคามีชีวิตมีต้นสังกัด มีเกิดแก่ตายเหมือนมนุษย์เลยทีเดียว สุริยุปราคาซารอสหนึ่งหรือสายพันธุ์หนึ่งจะมีอายุยืนไม่ต่ำกว่า1200ปี หากลองนำเอาตัวเลข18ปี กับอีก11 1/3วันไปหาร1200ก็จะได้ประมาณ68หมายความว่าสุริยุปราคาซารอสหนึ่งจะเวียนมาปรากฏให้เห็นไม่ต่ำกว่า68ครั้งแล้วก็ตายไปแต่ก็มีซารอสใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ประมาณกันว่าทุกๆ29ปีก็จะมีซารอสใหม่เกิดขึ้นมาเสริมถ้ามองภาพรวมก็คือจะมีซารอสเด็ก ซารอสหนุ่ม ซารอสแก่ สังกัดค่ายต่างๆ กันอยู่ปนเปกันไป
           
เวลาที่สุริยุปราคาซารอสใหม่จะถือกำเนิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกก่อนจะขั้วเหนือหรือขั้วใต้ก็ย่อมได้เกิดครั้งแรกจะเกิดเป็นสุริยุปราคาบางส่วนพอเวียนมาในรอบ18ปี11 1/3วันต่อไปเรื่อยๆ ก็จะกลายจากสุริยุปราคาบางส่วนไปเป็นสุริยุปราคาวงแหวน และกลายเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ค่อยๆเกิดไล่จากขัวโลกด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งและเมื่อเวียนมาครบประมาณ68ครั้งหรือประมาณ2000ปีดังกล่าว ในช่วงรอบท้ายๆ จะกลับมาเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกแล้วก็หลุดจากขั้วโลกไปเลย เช่น ถ้ามาเกิดที่ขั้วเหนือก็จะตายในขั้วใต้ดูไปแล้ววัฏจักรสุริยุปราคาช่างเหมือนกับวัฎจักรของสรรพชีวิตในเอกภพนี้ไม่ผิดเพี้ยน

ประสบการณ์ครั้งเดียวในชีวิต
           
สุริยุปราคาเต็มดวงนับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่มีโอกาสพบได้บ่อยนักในชีวิตประจำวันมนุษย์เดินดินคนหลายคนที่ตั้งแต่เกิดจนตายไม่มีโอกาสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเลยก็มีอยู่มากมายสุริยุปราคาบางส่วนหรือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อเทียบคุณค่าและความประทับใจแล้วเทียบกับสุริยุปราคาเต็มดวงไม่ได้แม้แต่น้อย คำพูดคำอธิบายใดๆก็ไม่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงได้เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ทุกคนต้องสัมผัสด้วยตนเองแม้ว่าท้องฟ้าจะมีเมฆมากก็ตามภายใต้เงาจันทร์สัมผัสแห่งอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปโดยฉับพลันทำให้หลายคนถึงกับเอ่ยปากว่า ใต้เงาจันทร์คือโลกต่างดาว คือโลกในจินตนาการไม่ผิดเพี้ยน
 
 



ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : ส
ศุกร์ ที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ.2553
เข้าชม : 4779
3.5 stars เฉลี่ย : 3.5 จาก 18 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก