[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : บอยคอตการเลือกตั้งผิหรือไม่
บทความ



 

ทความทางวิชาการ
การที่พรรคร่วมฝ่ายค้านที่เคยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภา ชุดที่แล้วอันได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน กำลังเดินเกมส์การเมืองหมากสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยการประกาศคว่ำบาตรไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบบัญชีรายชื่อและระบบเขตเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙และเริ่มเปิดรับสมัครในวันที่ ๒ มีนาคมนี้นับว่าเป็นสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงและต้องจับตามองทุกวินาทีในประเด็นนี้พล.ต.อ. วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ออกมาเตือนพรรคร่วมฝ่ายค้านที่เตรียมจะ "บอยคอต" ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในวันที่๒ เมษายน อาจเข้าข่ายผิด มาตรา ๑๗ ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งเป็นผลให้ "ยุบพรรค"ได้ เพราะขัดต่อนโยบายหรือข้อบังคับพรรคอันอาจกระทบต่อความมั่นคงกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย” (มติ ชน ๒๘ ก.พ. ๒๕๔๙ หน้า ๑๑) อย่างไรก็ตาม ด้วยความเคารพอย่างยิ่งต่อท่านประธาน กกต.ขอให้ท่านไปลองพลิกอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๒๘  ซึ่งบัญญัติว่านอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้...
การเลิกพรรคการเมือง ทั้งนี้โดยมิให้นำเอาเหตุที่พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งหรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งมาเป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง  มาตรานี้กำหนดให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองต้องจัดทำยกร่างกฎหมายดังกล่าวโดยมีเนื้อหาสาระตามหลัก การต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้นอกจากนี้ สภาพบังคับของหลักการดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงบทเฉพาะกาลปกติที่เมื่อได้ปฏิบัติแล้วเสร็จหรือพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จะสิ้นสภาพบังคับไปโดยปริยายเนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๙๒ กำหนดให้สาระสำคัญดังกล่าวต้องมีในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเรื่องนั้น ๆ ตามรัฐธรรมนูญนี้ตลอดไปมิใช่มีแต่เฉพาะในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับแรก แล้วต่อมาก็ตราฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓มายกเลิกสาระสำคัญดังกล่าวในภายหลังด้วยเหตุนี้ จึงเท่ากับว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันห้ามมิให้มีการยุบเลิกพรรคการเมืองใดเพราะเหตุที่พรรคการเมืองนั้นไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเพราะเหตุที่พรรคการเมืองนั้นไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งนั่นเอง  ดังนั้น การที่พรรคการเมืองมีมติไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งจึงไม่ผิดกฎหมายและไม่เป็นเหตุที่ กกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญในท้ายที่สุดจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อยุบพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้นี่ คือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่แตกต่างไปจากมาตรา ๑๑๒ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๓๘ และมาตรา ๔๖ (๓) ของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ศ. ๒๕๓๘  ซึ่งบังคับให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในการเลือกตั้งทั่วไปทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ดังนั้น ในระบบกฎหมายเดิมก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐หากพรรคการเมืองใดไม่ส่งสมาชิกลงสมัคร ส.ส. เลยแม้แต่คนเดียวหรือส่งลงสมัครแต่มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งในสี่ของ ส.ส. ทั้งหมดก็ต้องถูกยุบพรรคการเมืองนั้นทันที อย่างไรก็ตาม สภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขไว้ดังกล่าวเป็นการจำกัดเสรีภาพในการรวมตัวเป็นพรรคการ เมืองเพราะเป็นการกีดกันพรรคที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่และบางครั้งยังทำให้มีการรับจ้างลงสมัคร ส.ส. เพื่อให้ครบจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ถึงขนาดมีการล้อกันว่าจ้าง สามล้อไปลงสมัคร ส.ส.”   นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอยากฝากเตือนพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า ถ้าท่านไม่ส่งคนลงสมัครส.ส. เฉย ๆ คงไม่เป็นไรแต่อย่าถึงขั้นโฆษณาหาเสียงป่าวประกาศให้ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็แล้วกันเพราะนั่นเท่ากับว่าท่านกำลังบอกให้ประชาชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นการต้องห้ามอย่างชัดแจ้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๓
และผลที่ตามมาคง ไม่ใช่เพียงแค่เสียสิทธิทางการเมือง ๘ ประการเช่นสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือสิทธิเข้าชื่อถอดถอนเท่านั้นแต่หนักหนาถึงขั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองเลยทีเดียว จะเชื่อหรือไม่ก็ลองไปเปิดดูมาตรา ๖๖ (๒) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. ๒๕๔๑ อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากแสดงแสนยานุภาพว่า ประชาชนเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านกำลังทำมาลองวัดใจประชาชนกันดูบ้างเป็นไร  ประกาศรณรงค์ให้ ประชาชนที่เห็นด้วยกับท่านไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ขอให้กากบาทในช่องไม่ ลงคะแนนการรณรงค์อย่างนี้ไม่ขัด ต่อกฎหมาย และยังสามารถวัดความนิยมของพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง๓ พรรครวมกันได้ทั้งนี้ ช่องไม่ ลงคะแนนก็อาจเป็นการสะท้อนว่าประชาชนสุดเบื่อกับการเมืองไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้และพฤติกรรมการเมืองนำหลักการของบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมดที่สำคัญ เมื่อได้คำตอบเป็นประการใดแล้วลองพินิจพิเคราะห์ถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของพรรคการเมือง ความเหมาะสมประโยชน์และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติดูนะครับ
 


ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
อังคาร ที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553
เข้าชม : 2117
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก