[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เรื่อง : การเขียนบทความทางวิชาการ
บทความ



การเขียนบทความทางวิชาการ

 

 

                บทความทางวิชาการ  เป็นเอกสารทางวิชาการประเภทหนึ่งซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย  ได้ให้คำจำกัดความเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการไว้ว่า  หมายถึงเอกสารซึ่งเรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง  หรือของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์  วิจารณ์  หรือเสนอแนวความคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้นๆ (ทบวงมหาวิทยาลัย , เอกสารอัดสำเนา) จากความหมายข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า  บทความทางวิชาการมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ  รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ บนพื้นฐานของวิชาการในเรื่องนั้นๆ หรืออาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์  วิจารณ์  วิชาการในเรื่องนั้นๆ  เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรือเพื่อตั้งคำถามหรือประเด็นใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นต่อไป  บทความทางวิชาการเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเผยแพร่ความรู้  ความคิดและประสบการณ์ของสำนักวิชาการออกสู่วงวิชาการและสาธารณชน  ซึ่งช่วยให้นักวิชาการได้ทราบว่าความคิดและความรู้ใหม่ๆ  ที่ตนได้พัฒนาขึ้นนั้นได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ  หรือมีจุดอ่อน  จุดเด่นประการใด  ความรู้และความคิดเหล่านี้ควรจะได้มาจากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้า  วิเคราะห์  วิจารณ์มาอย่างดีแล้วจนกระทั่งเกิดแนวคิดใหม่ๆ ต่อเนื่องออกไป  ในทางที่จะสร้างสรรค์วิชาการเรื่องนั้นๆ ให้งอกงามต่อไปอีก  บทความทางวิชาการที่ดี  ควรมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านได้แนวคิดแนวทางในการนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบหนึ่ง  หรือช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการพัฒนาความคิดในเรื่องนั้นๆ  ต่อไป

 

ลักษณะสำคัญของบทความทางวิชาการ

                จากการอภิปรายข้างต้น  บทความทางวิชาการจึงควรมีลักษณะสำคัญๆ ดังนี้

                1.  มีการนำเสนอความรู้  ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง

                2.  มีการวิเคราะห์  วิจารณ์  ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสาระประโยชน์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน  ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัว  หรือประสบการณ์และผลงานของผู้อื่นมาใช้

                3.  มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม  เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ

                4.  มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง  เหมาะสมตามหลักวิชาการ  และจรรยาบรรณของนักวิชาการ

                5.  มีการอภิปรายให้แนวคิด  แนวทางในการนำความรู้  ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์  หรือมีประเด็นใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความรู้หรือพัฒนาความคิดในประเด็นนั้นๆ  ต่อไป

 

ส่วนประกอบของบทความทางวิชาการ

                โดยทั่วไป  บทความทางวิชาการ  ควรมีส่วนประกอบที่สำคัญๆ  ดังนี้

                1.  ส่วนนำ

                ส่วนนำจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้นๆ  ซึ่งสามารถใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ  ตามแต่ผู้เขียนจะเห็นสมควร  เช่น  อาจใช้ภาษาที่กระตุ้น  จูงใจผู้อ่านหรือยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย  หรือตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่านหรืออาจจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน  เป็นต้น  นอกจากจะเป็นส่วนที่ใช้จูงใจผู้อ่านแล้ว  ส่วนนำเป็นส่วนที่ผู้เขียนสามารถกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนั้น  หรือให้คำชี้แจงที่มาของการเขียนบทความนั้น ๆ  รวมทั้งขอบเขตของบทความนั้น  เพื่อช่วยให้ผู้อ่านไม่คาดหวังเกินขอบเขตที่กำหนด  นอกจากนั้นผู้เขียนอาจใช้ส่วนนำนี้ในการปูพื้นฐานที่จะเป็นในการอ่านเรื่องนั้นให้แก่ผู้อ่าน  หรือให้กรอบแนวคิดที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่นำเสนอต่อไป

                2.  ส่วนสาระสำคัญของเรื่อง

                ถัดจากส่วนนำก็จะถึงส่วนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่องซึ่งในส่วนนี้ผู้เขียนควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญๆ  ดังต่อไปนี้

                                2.1  การจัดลำดับเนื้อหาสาระ  ผู้เขียนควรมีการวางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ  และจัดลำดับเนื้อหาสาระให้เหมาะสมตามธรรมชาติของเนื้อหาสาระนั้น  การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกัน  เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้นได้โดยง่าย

                                2.2  การเรียบเรียงเนื้อหา  ในส่วนนี้ต้องอาศัยความสามารถของผู้เขียนในหลายด้านนอกเหนือจากความเข้าใจในเนื้อหาสาระ  เช่น  ด้านภาษา  ด้านสไตล์การเขียน  ด้านวิธีการนำเสนอเป็นต้น

                                                2.2.1  ด้านการใช้ภาษา  การเขียนบทความทางวิชาการ  จะต้องใช้คำในภาษาไทยหากคำไทยนั้นยังไม่เป็นที่เผยแพร่หลาย  ควรใส่คำภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ  ในกรณีที่ไม่สามารถหาคำไทยได้  จะเป็นต้องทับศัพท์ก็ควรเขียนคำนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตสถาน  ไม่ควรเขียนภาษาไทยและต่างประเทศปะปนกันในลักษณะที่เรียกว่า ไทยคำ  อังกฤษคำ  เพราะจะทำให้งานเขียนนั้นมีลักษณะของความเป็นทางการ (formal) ลดลง  ผู้เขียนบทความทางวิชาการ  จำเป็นต้องพิถีพิถันในเรื่องการเขียนตัวสะกดการันต์ต่างๆ  ให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  และควรตรวจทานงานของตนไม่ให้ผิดพลาด  เพราะงานนั้นจะเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการต่อไป

                                                2.2.2  ด้านสไตล์การเขียน  ผู้เขียนแต่ละคนย่อมมีสไตล์การเขียนของตนซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์และเป็นเสรีภาพของผู้เขียน  อย่างไรก็ตาม  ไม่ว่าผู้เขียนจะใช้สไตล์อะไร  สิ่งที่ควรคำนึงก็คือ  ผู้เขียนจะต้องเขียนอธิบายเรื่องนั้นๆ ให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างมากที่สุด  ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆ  ที่

จำเป็น  เช่น  การจัดลำดับหัวข้อ  การยกตัวอย่างที่เหมาะสม  การใช้ภาษาที่กระชับชัดเจน  และเหมาะสมกับผู้อ่าน  เป็นต้น

                                                2.2.3  ด้านวิธีการนำเสนอ  การนำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและได้อย่างรวดเร็วนั้น  จำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ  ในการนำเสนอเข้าช่วย  เช่น การใช้สื่อประเภทภาพ  แผนภูมิ  ตาราง  กราฟ  เป็นต้น  ผู้เขียนควรมีการนำเสนอสื่อต่างๆ  นี้อย่างเหมาะสม  และถูกต้องตามหลักวิชาการ  เช่น  การเขียนชื่อตาราง  การให้หัวข้อต่างๆ  ในตาราง  เป็นต้น

                                2.3  การวิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  และการนำเสนอความคิดของผู้เขียน  บทความที่ดี  ควรมีการนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียน  ซึ่งอาจออกมาในลักษณะของการวิเคราะห์  วิจารณ์  ข้อมูล  เนื้อหาสาระ  ให้เป็นประเด็นที่เป็นส่วนของการริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน  ซึ่งอาจจะนำเสนอไปพร้อมๆ  กับการนำเสนอเนื้อหาสาระ  หรืออาจจะนำเสนอก่อนการนำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาสาระก็ได้  แล้วแต่สไตล์การเขียนของผู้เขียน  หรือความเหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาของเรื่องนั้นๆ

                3.  ส่วนสรุป

                บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญๆ  ของบทความนั้นๆ  ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อ  คือการเลือกเก็บประเด็นสำคัญๆ  ของบทความนั้นๆ   มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้นๆ  ท้ายบท  หรือ  อาจใช้วิธีการบอกผลลัพธ์ว่า  สิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร  สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง  หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป  (ปรีชา  ช้างขวัญยืน  และคณะ . 2539 : 14 ) หรืออาจใช้วิธีการตั้งคำถามหรือให้ประเด็นทิ้งท้ายกระตุ้นให้ผู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้  หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป  งานเขียนที่ดีควรมีการสรุปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ

                4.  ส่วนอ้างอิง

                เนื่องจากบทความทางวิชาการ  เป็นงานที่เขียนขึ้นบนพื้นฐานของวิชาการที่ได้มีการศึกษา  ค้นคว้า  วิจัยกันมาแล้ว  และการวิเคราะห์  วิจารณ์อาจมีการเชื่อมโยงกับผลงานของผู้อื่นจึงจำเป็นต้องมีการอ้างอิงเมื่อนำข้อความหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้  โดยการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นงานของใคร  ทำเมื่อไร  และนำมาจากไหน  เป็นการให้เกียรติเจ้าของงาน  และประกาศให้ผู้อ่านรับรู้ว่า  ส่วนนั้นไม่ใช่ความคิดของผู้อื่น  รวมทั้งเป็นการให้หลักฐานแก่ผู้อ่าน  ให้ผู้อ่านสามารถไปสืบเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม  หรือติดตามตรวจสอบหลักฐานได้

                โดยทั่วไป  การอ้างอิงทำได้หลายแบบที่นิยมกันก็แทรกปนไปในเนื้อหา  การอ้างอิงแบบลงเชิงอรรถ  และการทำบรรณานุกรม

                                4.1  การอ้างอิงแบบแทรกปนไปในเนื้อหา  มี  2  ระบบ  คือ

                                                4.1.1  ระบบนามปี  เป็นการอ้างอิงโดยลงชื่อผู้แต่ง  ปีที่พิมพ์  และเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิง  ตัวอย่างเช่น

                                                          กิจการพิมพ์ในเมืองไทย  เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก  ตั้งแต่ ปี  พ.ศ.  2371  (สุภาพรรณ  บุญสะอาด , 2517 : 38)

                                                4.1.2  ระบบหมายเลข  ใช้วิธีระบุหมายเลขสำคัญ  เอกสารอ้างอิงที่เรื่องลำดับไว้ในบรรณานุกรม  และบอกเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง  เช่น

                                                          การพิมพ์หนังสือเริ่มขึ้นในประเทศจีน  ตั้งแต่ราวปี  ค.ศ. 105  และมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ (2:186)

                                4.2  การอ้างอิงแบบลงเชิงอรรถ  มีหลายแบบ  เช่น  เป็นเชิงอรรถอ้างอิงซึ่งทำในรูปของข้อความที่แยกไว้ท้ายหน้า  โดยลงชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  สถานที่พิมพ์  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ในบางกรณีอาจรวมไว้ท้ายบทก็ได้  นอกจากเชิงอรรถอ้างอิงแล้ว  ยังมีเชิงอรรถเสริมความหรือเชิงอรรถอธิบาย  เพื่อให้คำอธิบายเพิ่มเติม  และเชิงอรรถโยง  ซึ่งใช้บอกแหล่งความรู้ที่ผู้อ่านจะหาได้จากส่วนอื่นของเรื่องที่เขียนนั้น  เพื่อจะได้ไม่ต้องนำข้อมูลซึ่งเขียนแล้วมากล่าวซ้ำอีก  นอกจากนั้น  การอ้างซึ่งมีลักษณะเป็นการอิง  คือไม่ได้นำผลงานส่วนใดส่วนหนึ่งมากล่าวอ้างโดยตรง  แต่เป็นการนำความคิดหรือข้อมูลของเขามาเล่าก็ต้องอ้างชื่อเจ้าของผลงาน  และบอกที่มาไว้ในบรรณานุกรม  (ปรีชา  ช้างขวัญยืนและคณะ , 2539:76)

                ตัวอย่างการลงเชิงอรรถอ้างอิง

 

                งบประมาณเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นจาก  569.1  ล้านบาท  หรือร้อยละ  1.7  ของงบประมาณเพื่อการศึกษาทั้งหมดในปี  2536.............

 

                1สำนักงบประมาณ  สำนักนายกรัฐมนตรี.งบประมาณโดยสังเขป  ประจำปีงบประมาณ  2535. กรุงเทพมหานคร:บริษัทฉลองรัตน์  จำกัด , ม.ป.ป.

 

 

 

 

 

 

 

                .....รูปแบบของการศึกษาที่สามารถนำอุปกรณ์โทรคมนาคมมาใช้เพื่อการสื่อสารสองทางในขณะนี้  ได้แก่  โทรศัพท์เพื่อการศึกษา  โทรประชุมเพื่อการศึกษา  และดาวเทียมเพื่อการศึกษา*....

 

            *นอกจากรูปแบบทั้ง  3  แล้ว  ยังสามารถใช้ระบบและอุปกรณ์โทรคมนาคมต่างๆ  ได้แก่โทรพิมพ์ระบบเคเบิลทีวี  การส่งสัญญาณไมโครเวฟ videotext และ teletext  ในการศึกษาทางไกลได้อีกด้วย

                ตัวอย่างการลงเชิงอรรถอธิบาย

 

 

 

 

 

 

 

 

                                4.3  การเขียนบรรณานุกรม

                                                บรรณานุกรมเป็นรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงและใช้ประกอบการเขียนบทความนั้นๆ ซึ่งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารนั้น  โดยจัดเรียงตามลำดับพยัญชนะ  ประกอบด้วย  ชื่อผู้แต่ง  ชื่อหนังสือ  จำนวนเล่ม  ครั้งที่พิมพ์  สถานที่พิมพ์  ปีที่พิมพ์  ผู้อ่านสามารถตรวจสอบหลักฐาน  หรือศึกษาเพิ่มเติมได้  บรรณานุกรมนับเป็นส่วนสำคัญของบทความทางวิชาการ  เนื่องจากวัตถุประสงค์สำคัญข้อหนึ่งของการเขียนบทความทางวิชาการก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านมีการสืบเสาะและค้นคิดพัฒนาในเรื่องนั้นๆ  ต่อไป

                ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม (บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2536)

ภาษาไทย

                ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  และชูชาติ  สวัสดิศรี , บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย .

                                  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น , 2519 .

                พระราชวรมุนี. ปรัชญาการศึกษาของคนไทย. พระนคร : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, 2519.

                วิจิตรวาทการ,หลวง. ศาสนาสากล  เปรียบเทียบศาสนา สัทธิและปรัชญาต่างๆ ทั่วโลก. 5 เล่ม.

                                 พิมพ์ครั้งที่ 2 . พระนคร : โรงพิมพ์ ส.ธรรมภักดี, 2498-2501.

                วิชาการ,กรม.จุดประสงค์ในการสอน. พระนคร : กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ, 2518.

                สมบูรณ์  ไพรินทร์. บันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475-25 ธันวาคม 2515.

                                 2  เล่ม. (ม.ป.ท. , ม.ป.ป.).

                ชมเพลิน  จันทร์เรื่องเพ็ญ, สมคิด  แก้วสนธิ  และทองอินทร์  วงศ์โสธร. การสอนแบบต่างๆ

                                ในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 6 พฤษภาคม-มิถุนายน 2519 : 34-49.

ภาษาอังกฤษ

                Fontana,D.Jr. Classroom control: Understanding and Building classroom  behavior.

                          London :The British Psychological  Society,1985.

                Katz, W.A. Introduction to reference  work. 2 Vols. 2nd ed. Now York : McGraw-Hill

                            Book Co., 1974.

                Thailand. Office  of the National Education Commission. A research report on higher 

                 Education  system : A case study  of  Thailand . Bangkok : Office of the National

                 Education  Commission, 1977.

                รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของการอ้างอิงนั้นมีอีกมาก  ซึ่งผู้เขียนบทความทางวิชาการควรแสวงหาความรู้เพิ่มเติม  เพราะมีแบบให้เลือกหลายแบบที่ยกมาเป็นเพียงแบบหนึ่งเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม  หลักสำคัญที่ควรกล่าวไว้ในที่นี้ก็คือ  การอ้างอิงควรจะเป็นการกระทำอย่างมีจุดหมาย  เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบแหล่งที่มาของความรู้  และช่วยให้ผู้อ่านมีโอกาสหาความรู้เพิ่มขึ้นและเป็นการแสดงว่าสิ่งที่นำมากล่าวมีหลักฐานควรเชื่อถือได้เพียงใด  ความรู้พื้นๆ  ที่เป็นสิ่งที่ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย  ไม่จำเป็นต้องมีการสืบค้นอะไรอีก  ไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิง ควรอ้างอิงเท่าที่จำเป็น  การอ้างอิงมากเกินจำเป็น  จะทำให้บทความดูรุ่มร่าม  และก่อความรำคาญในการอ่านได้  นอกจากนั้น  พึงตระหนักอยู่เสมอว่าการคัดลอกงานของผู้อื่นนั้นทำได้  แต่ต้องเป็นการนำมาเพื่ออธิบายสนับสนุนเท่านั้น  ไม่ใช่ลอกเอามาเป็นเนื้องานของตน

                รายละเอียดปลีกย่อยในการเขียนบทความทางวิชาการให้ได้ดีนั้น  คงยังมีอีกมาก  อาทิเช่น  ลักษณะจำเพาะของบทความเฉพาะสาขา  ความยาวที่เหมาะสม  แบบฟอร์ม  และรายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์  เป็นต้น  ผู้เขียนบทความควรให้ความสนใจที่จะศึกษาต่อไป  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  เป็นเพียงส่วนสำคัญที่ไม่ควรขาดในบทความทางวิชาการโดยทั่วไปเท่านั้น

บรรณานุกรม

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลักษณะของผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่ง

                วิชาการตามติของ ก.ม.  (อัดสำเนา) )(ม.ป.ป.).

บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์                                         มหาวิทยาลัย, 2536.

ปรีชา  ช้างขวัญยืน  และคณะ. เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์     มหาวิทยาลัย , 2539

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

( KM : Knowledge  Management )

การจัดการความรู้  (KM)  เป็นการสร้างศรัทธา  และบรรยากาศที่ดีในการทำงาน  ได้ประโยชน์  เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเพื่อนร่วมงานได้แลกเปลี่ยนความรู้  วิธีการทำงานและเป็นการสร้างทีมงาน  ผลที่เกิดขึ้นกับองค์กร  มีดังนี้

1.  ได้งาน  ให้โอกาสการทำงานแก่บุคลากรในองค์กร  ได้คิดถึงภาระงาน

2.  ได้ระบบเครือข่ายการทำงาน  กำหนดเวลาให้ทุกคนทำ

3.  เป็นสะพานเชื่อมความรู้ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน  และนอกหน่วยงาน      ให้มีแนวปฏิบัติงานที่ตรงกับความต้องการและตอบสนองนโยบายของหน่วยงาน

4.  สร้างกระบวนการทางปัญญา  ที่จะเกิดองค์ความรู้ใหม่

การดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) 

1.  จัดประชุมเล่าเรื่องประสบการณ์

2.  สังเคราะห์แก่นความรู้เป็นองค์ความรู้ใหม่

3.  สร้างบันไดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ

4.  เน้นกระบวนการพัฒนาและศึกษารายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการจัดการความรู้  (KM) 

1.  คัดเลือกหรือสมัครครูที่สนใจ

2.  สร้างผลงานของตัวเอง

3.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยครูแกนนำเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนา

4.  เผยแพร่แก่โรงเรียนในสังกัดและนำความรู้ไปใช้

5.  นิเทศ  ติดตาม  และประเมินผล  คัดเลือกผลงานจัดเป็นศูนย์ความรู้ 

 กรอบการจัดการความรู้  (KM)  การพัฒนาครูและบุคลากร

 

 การจัดการเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่  ซึ่งดำเนินการโดย  รวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร  จำแนก  จัดหา  นำความรู้ใหม่ใช้ประโยชน์  เป็นเครื่องมือทำงานให้บรรลุเป้าหมายการทำงานขององค์กร

1.  หลักการของการจัดการความรู้ (KM)  

1)  มนุษย์เราทุกคนมีความรู้

2)  ทุกคนต้องให้ความรู้ใหม่อยู่เสมอ

3)  ความรู้ของคนเราเคลื่อนที่อยู่เสมอ

4)  เผยแพร่รวมพลังสร้างความรู้ใหม่

2.  องค์ประกอบของการจัดการความรู้  (KM) 

1)  มีวิสัยทัศน์  พันธกิจ

2)  กระบวนการทำงาน

3)  ผลงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

 

3.  วิธีการจัดการความรู้  (KM) 

1)  เรื่องเล่าเร้าพลัง

2)  เล่าเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ

3)  ถอดภูมิความรู้

4)  สกัดเกิน  ไม่เล่าเรื่องอื่น

5)  ตารางอิสระในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

6)  บันไดแห่งความสำเร็จ

7)  ประเมินจัดลำดับความสำเร็จ

8)  แลกเปลี่ยนเรียนรู้/เผยแพร่

4.  ประโยชน์การจัดการความรู้ (KM)

1)  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

2)  เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

3)  เกิดนวัตกรรมใหม่  หรือองค์ความรู้ใหม่

4)  เกิดองค์กรสังคมแห่งการเรียนรู้

5)  ปรับพฤติกรรมการทำงาน

5.  ข้อควรระวังในการจัดการความรู้ (KM) 

1)  ไม่บังคับให้ทำ

2)  ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3)  กล้าที่จะให้และรับเผยแพร่ความรู้

4)  เปิดใจในการประเมินตนเอง

5)  ปฏิบัติจริง  และให้ความร่วมมือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้  (KM) 

เรื่อง  คิดแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่องของนักเรียน

 

 

สรุปองค์ความรู้ได้วิธีแก้ปัญหา

1)  จัดต้นไม้พูดได้  เกี่ยวกับคำพังเพย  สำนวน  ชื่อต้นไม้  ราชาศัพท์  สุภาษิต

2)  ชุมชุมส่งเสริมการอ่าน  อ่านทำนองเสนาะ  พี่ชวนน้องสะกดคำ    คำขวัญ  คัดลายมือ  อ่านบทร้อยกรองแข่งขัน

3)  ห้องสมุดมีชีวิต  ทันสมัย  บรรยากาศดี  สวยงาม  สื่อ  หนังสือ  นิทาน

4)  รักการอ่าน  มุมหนังสือ  ภาษาไทยวันละคำ

5)  ประกวดอ่านคล่อง เขียนคล่อง รายบุคคล รายกลุ่ม

6)  จัดชั้นเรียนสอนพิเศษเฉพาะนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

7)  ประเมินผล  ชิ้นงาน  วิจัยในชั้นเรียน  บันทึกความรู้


กิจกรรม

ซ่อมเสริมภาษาไทย

รายชั้น

คิดแก้ปัญหา...

            การอ่านไม่คล่องของนักเรียน

ประเมิน

แบบทดสอบก่อนอ่าน

วิจัยฯ

ชิ้นงาน

รายบุคคล

จัดชั้นเรียนสอนพิเศษ

ต้นไม้พูดได้

คำพังเพย

สำนวน

ชื่อต้นไม้

ราชาศัพท์

สุภาษิต

ชุมนุมส่งเสริมการอ่าน

พี่สอนน้องฝึกสะกดคำก่อนเข้าเรียน

อ่านทำนองเสนาะ

คำขวัญ คัดลายมือ

อ่านบทร้อยกรอง

แข่งขันเปิดพจนานุกรรม

ห้องสมุดมีชีวิต

สื่อ,หนังสือ, นิทาน

บรรยากาศดี

ทันสมัยสวยงาม

รักการอ่าน

ประกวดอ่านคล่องเขียนคล่อง

ภาษาไทยวันละคำ

มุมหนังสือในห้องเรียน

แผนผังการจัดการความรู้การแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่คล่องของนักเรียน

ระดับชั้น

ภาพรวม

รายบุคคล

รายกลุ่ม


การพัฒนาการประเมินสภาพจริง  (Authentic Assessment)

สำนักงานเขตพื้นที่นครราชสีมา  เขต 7  ดำเนินการพัฒนาครู  และวัดประเมินผล      ในสถานศึกษา  เกี่ยวกับการดำเนินงานประเมินผลสภาพจริง  โดยการประชุมเชิงปฏิบัติงาน  และได้มอบหมายภารกิจให้ผู้เข้าอบรมได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้วัดประเมินผลสภาพจริง  และดำเนินการในสถานศึกษา  จากการดำเนินงาน  พบว่า  ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้  ประสบการณ์ไปปฏิบัติ  ส่งผลให้ครูผู้สอนสามารถดำเนินงานส่งชิ้นงาน  เข้ารับการประเมินเป็นผลงานที่เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษา  จากการสังเคราะห์ชิ้นงาน  พบว่า  กระบวนการดำเนินงานประเมินผลสภาพจริง  มีขั้นตอนดังนี้

1.  วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา

2.  ศึกษา / วิเคราะห์  มาตรฐานการเรียนรู้  และตัวชี้วัดการประเมิน

3.  กำหนดเกณฑ์  และรูปแบบการวัดปละประเมินผล

4.  กำหนดเครื่องมือในการวัดและประเมินผล

5.  ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และวัดประเมินผลตามสภาพจริง

6.  ดำเนินการจัดการเรียนรู้  และประเมินผลตามสภาพจริง

7.  สรุปผลการประเมิน

8.  รายงานผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

 

การจัดการเรียนการสอนสู่ความสำเร็จ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อหาแนวทางการจัดกาเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้  และการศึกษาดูงาน
  2. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาทักษะการสอนกากรพัฒนาหลักสูตร  และการวัดประเมินผล
  3. เพื่อบูรณาการประสบการณ์ และการศึกษาดูงานด้วยกระบวนการการจัดการความรู้

แนวปฏิบัติ

1. ประชุมชี้แจงอบรมครูผู้สอนเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการความรู้

2. ศึกษาดูงานโรงเรียนที่สามารถพัฒนาการเรียนการสอนด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ประสบ

    ผลสำเร็จ

3. แบ่งกลุ่ม  เพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้

สรุป  การจัดการเรียนการสอนมุ่งสู่ความสำเร็จ

-          เลือกตามความสนใจ  ความถนัด

-          คัดเลือกโดยการฝึกปฏิบัติจริง  จนเห็นความสามารถที่โดดเด่น

-          เลือกความคิดสร้างสรรค์ในการบูรณาการความรู้  ทักษะ  และส่งเสริมความสามารถเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-          เพิ่มความเชื่อมั่นและประสบการณ์โดยการส่งเข้าประกวดในเวทีระดับต่าง ๆ

-          สามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะ และประสบการณ์สู่ผู้อื่นได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านออกเขียนได้  ความสามารถที่ด้อยลงของเด็กไทย

 


 

 

1.ครู(แม่) สอนให้ลูกชายอ่านโดยแจกรูปคำโดยไม่มีตัวสะกด (สอนแต่สระไปก่อน)   ประสบผลสำเร็จกับลูปชาย ป.1 โดยสามารถอ่านได้ และชอบอ่านหนังสือ แต่เขียนคำยากยังไม่ได้

สื่อ  เช่น  โปสเตอร์  , ไฟล์เอกสารฝึกงาน(มานี มานะ..)  , หนังสือการ์ตูน, หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์, ชุดการอ่านจากโรงเรียน

 

Success on Reading Writing

2. สมัยเป็นเด็ก    อ่านได้  แต่เขียนยังไม่ได้  เช่น  คำว่า  สามารถ,  ปรารถนา  ต่อมาภายหลังมีเทคนิคจำแบบแยกคำจึงสามารถเขียนได้

วิธีแก้ของครูต่อนักเรียน

- เอาคำศัพท์ที่นักเรียนคุ้ยเคยมาเขียนติดไว้ที่หน้าชั้นเรียนแล้วให้นักเรียนอ่านให้เพื่อนฟัง แล้วกล่าวคำชมเป็นกำลังใจ   โดยทำอย่างนี้เป็นประจำ

4. ประสบการณ์จากการอบรม โดยจับประเด็นได้  คือ

- ฝึกอ่านจากเรื่องราวที่นักเรียนชอบ (นักเรียนกลุ่มนี้เป้นกลุ่มที่อ่านหนังสือไม่ได้)

- โดยให้นักเรียนนำรูปภาพที่ชอบมาติดแปะแล้วให้ฝึกอ่านจากภาพนี้

3.ประสบการณ์อ่านออกเขียนได้ของตนเอง  โดยฝึกอ่านจากแบบเรียน มานี มานะ  (เล่มแรกที่อ่านได้คล่อง)  แล้วเกิดความชอบ  เพราะสามารถอ่านได้สำเร็จเป็นบท ๆ  ไป  จากนั้นจึงนำไปสู่การชอบอ่านหนังสือในรายวิชาต่อไป    เช่น     สปช., สลน., กพอ.,  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

ความสนใจ  , ความถนัด

- 3 -

 

 

 

ความรู้ซ่อนเร้น

เลือกความสามารถโดดเด่น

ฝึกปฏิบัติจริง

ความรู้เด่นชัด

 

การจัดการเรียนการสอนเพื่อทุ่งสู่ความสำเร็จ

ฝึกซ้ำจนเกิดความชำนาญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

ภูมิปัญญา

ประสบการณ์

บูรณาการ

ความรู้

ทักษะ

เข้าประกวดแข่งขัน

ถ่ายทอดความรู้

 

 

 

 

 

- 4 -

 

สรุปเนื้อหาของบทเรียนโดยการเขียนที่ถูกวิธี

ใช้รูปภาพเป็นสื่อในการเขียนและอ่าน

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้

ฝึกเขียนตามคำบอกทุกวัน

 

 

เล่านิทาน วาดภาพ และเขียนในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนิทานและภาพ

ทำแบบฝึกหัดบนกระดาน

 

 

 

 

 

 


 

 

อ่านและเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

ฝึกอ่านออกเสียงคำบนกระดานทุกวัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

- 5 -

 

กลุ่มที่ 1

1.ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล  หลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน 

หลักสูตรและการสอน    เน้นการพัฒนาสมองแบบองค์รวม  ฝึกทักษะการคิดและทักษะ

การจัด   ความรู้  ปลูกฝังคุณธรรม   สอนเพื่อสร้างความเข้าใจ   เรียนรู้โดยการปฏิบัติ     โดยจัดหน่วยการ

เรียนรู้บูรณาการ     เชื่อมโยง   8   สาระ    ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้  การวัดประเมินผล   โดยใช้เกณฑ์

Rubric  พัฒนาการเรียนการสอนอนุบาลสู่ ป.1   แบบผสมผสาน     พัฒนาคลื่นสมองต่ำโดยการฝึกโยคะ  ยิมนาสติก  แทนการนั่งสมาธิ  เพราะยังไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล

2. วิธีดำเนินการ  กระบวนการดำเนินการทำอย่างไร  ถึงจะประสพความสำเร็จ

สอนแบบบูรณาการเป็นแกน (ทฤษฎี)  โดยใช้โครงงานเป็นเครื่องมือเพื่อฝึกการคิด  ฝึกทักษะ

การปฏิบัติจริง    เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข   ในหัวข้อการเรียนรู้  นักเรียนเป็นผู้เลือก    ครูจัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน 10 สัปดาห์  วัดประเมินเกณฑ์รูบริค  ใช้จิตรวิทยา  จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์  ครูประชุมกันทุกเย็น ออกแบบการเรียนรู้  รับทราบปัญหา ร่วมกันแก้ไข  นักเรียนมีความเท่าเทียมโดยจับฉลากเข้ามาเรียน

3.แนวคิดที่ได้จากากรศึกษาดูงาน  ที่เป็นจุดเน้นที่น่าจะนำไปพัฒนาที่โรงเรียนของเรา

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ถือว่าได้ปฏิรูปการศึกษาที่สมบูรณ์    มีการคัดเลือกครูที่มีคุณภาพ 

คัดเลือกคุณลักษณะของครูที่เหมาสมกับวิชาที่จะสอนการพัฒนาวิสัยทัศน์ให้ครูให้เห็นร่วมกัน  รู้สึกร่วมกัน  รู้วิธีการสอน  เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  จึงอยากนำส่วนนี้ไปจัดการเรียนการสอน  และกิจกรรมที่เน้นให้เด็กแสวงหาความรู้  และฝึกคิดค้นด้วยตนเอง

4.ปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรียนประสพความสำเร็จ

4.1  โรงเรียนมีงบประมาณในการบริหารจัดการด้านวิชาการ     บุคลากร        อาคารสถานที่อย่างเพียงพอ

4.2 ผู้นำของโรงเรียนมีความรู้ความสามารถ มีการพัฒนาบุคลากร  พัฒนาวิสัยทัศน์  พัฒนากรอบความคิด  และใช้จิตวิทยาสำหรับมนุษย์ในการบริหารคน

4.3 ตัวครู  อยู่ในวัยทำงาน  อายุเฉลี่ยน้อย  เป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกมาจากผู้นำของโรงเรียน  จึงน่าจะมีศักยภาพในการทำงานอย่างเพียงพอ

4.4  นักเรียน    นักเรียนโรงเรียนนี้    เข้ามาเรียนได้โดยการจับฉลาก      มาจากหลากหลายอาชีพ  ผู้ปกครองโดยได้ปฏิบัติตรมเงื่อนไขของทางโรงเรียน / ฝึกฝนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลมาเรื่อย ๆ  จนถึงชั้น

 

- 6 -

สูงสุดนักเรียนได้รับการพัฒนาด้านการคิดและทักษะการปฏิบัติจริง  นักเรียนจึงมีความพร้อมที่จะเรียนในเรื่องต่อ ๆ  ไปได้  และเรียนได้ดี

4.5  แหล่งเรียนรู้  /  สื่อการเรียนการสอน   ทางโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และพร้อมสำหรับนักเรียน    สื่อการเรียนการสอนครบถ้วนตามกลุ่มสาระ         มีบรรยากาศของโรงเรียนน่าดู  น่าอยู่  น่าเรียน

5. ท่านคิดว่าหลักฉากดูงานแล้วจะนำไปใช้ที่โรงเรียนได้อย่างไร

1. จัดทำการวัดผล  ประเมินผลที่เน้น  Rubric   และสร้างเครื่องมือการประเมินทุกชิ้นงาน    ที่ทำการประเมิน  เพราะที่ผ่านมา  ข้าพเจ้าจัดทำ Rubric  ยังไม่ละเอียดเท่าที่ควร     และสร้างเครื่องมือไม่ครบทุกชิ้นงาน

2. พัฒนางานด้านการวัดประเมินผล            และชักชวนเพื่อนครูที่โรงเรียนจัดทำการประเมินตามสภาพจริง  ที่ถูกต้องตามขั้นตอน  และทำเป็นปัจจุบัน

3. สอนโครงการนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 2     เพราะตอนนี้  ข้าพเจ้าสอนโครงงานในช่วงชั้นที่ 3  (วิทยาศาสตร์)

4. เสนอผู้บริหารเรื่องการมีส่วนร่วมในการสอนของผู้ปกครอง   ว่าท่านจะมีความคิดเห็นอย่างไร  และหลังจากนั้นอาจจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน / ครู

5. สอนที่เน้นทักษะกระบวนการมาก ๆ  ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดให้มากขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- 7 -

กลุ่มที่ 2

1.ความรู้ที่ได้จากการดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

1. รู้เรื่องหลักสูตร  คือการจัดทำหลักสูตรยึดหลักสูตรแกนกลาง  เหมือนโรงเรียนทั่ว ๆ ไป

  แต่แตกต่างกันที่วิสัยทัศน์     และปรัชญาแนวคิด  คือโรงเรียนนี้จะเน้นการพัฒนาคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  และคนเราทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

2.  รู้เรื่องการวัดผลประเมินผล         คือวัดผลประเมินโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นหลัก 

และหัวใจการวัดผลประเมินผล  คือ    เพื่อพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น     และการวัดผลประเมินผลจะประเมินขณะปฏิบัติ และประเมินแบบต่อเนื่อง  โดยใช้การประเมินตามสภาพจริง  และวัดผลตามชิ้นงานของเด็ก

3. รู้เรื่องการจัดการเรียนรู้    คือ       ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์หลักสูตรในสาระที่ตนเองสอน 

และขึงมาตรฐานเพื่อทำ  My mapping    และจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้    ครูต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ในเรื่องที่จะเรียน  ตามหัวข้อที่นักเรียนสนใจ  จากนั้นครูกำหนดแผน 10 สัปดาห์  และกำหนดไว้ว่า

                                - สิ่งที่เด็กรู้แล้ว

                                - สิ่งที่เด็กต้องการอยากรู้

                                - สิ่งที่เด็กควรรู้  แล้วครูก็เติมเข้าไปให้สมบูรณ์

4. ครูทุกคนในโรงเรียนนี้มีวิสัยทัศน์เหมือนกันทุกคน  และครูมีความเสมอภาคกันทุกคน

มีสิทธิในการเสนอความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน

5. การพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน    ครูทุกคนจัดการกับปัญหา     โดยใช้คำพูดเดียวกัน 

เหมือนกัน  ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับรู้ และช่วยกันแก้ปัญหา

6. ครูทุกคนมีความสามัคคีกันทำให้การทำงานไม่มีอุปสรรค ถ้ามีอุปสรรคทุกคนก็ช่วยกัน

แก้ปัญหาได้ไม่โทษใครคนใดคนหนึ่ง

7. ทุก ๆ  วันประเมิน 16.00 น.  ครูจะประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิด  ความรู้สึก 

หรือพบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร  ก็จะช่วยกันแก้ปัญหา  และทุกคนเคารพความคิดของผู้อื่น

8. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ดื้อ     เพราะมีการทำกิจกรรมจิตศึกษาในการพัฒนาคุณลักษณะอัน

พึงประสงค์ของนักเรียน

9. โรงเรียนสะอาดไม่ขยะ  เพราะโรงเรียนนี้ใช้ทฤษฎีตัวแบบ   คือ  ทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง 

และเด็กก็ทำตาม  และมันจะค่อย ๆ  ซึมซับเข้าไปในสมองเด็กเอง

 

 

- 8 -

2. วิธีการดำเนินการ

1.  การวัดประเมินผล

                                การวัดประเมินผลโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นหลัก  หัวใจของการวัดผลประเมินผล  คือ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น  และการวัดผลประเมินผลจะประเมินขณะปฏิบัติและประเมินแบบต่อเนื่อง  โดยใช้การประเมินตามสภาพจริงไม่มีการสอบ   ไม่มีการจัดลำดับที่    และไม่เปรียบเทียบว่าเด็กเก่งหรือ  อ่อน  แต่ถ้าเด็กอ่านหนังสือไม่เก่งครูจะสอนซ่อมในช่วงหลังเลิกเรียน

2 กระบวนการสอน

                                ครูผู้สอนจะต้องวิเคราะห์หลักสูตรในกลุ่มสาระที่ตนเองสอน   และขึงมาตรฐานเพื่อทำ  My  mapping  การสอนใช้การสอนแบบบูรณาการทำโครงงานเป็นหลัก  ครูจะสำรวจ  สอบถามนักเรียน ว่าอยากจะเรียนรู้เรื่องใด   ให้นักเรียนเขียนหัวข้อที่อยากเรียน  แล้วครูก็วางแผนงานให้เข้ากับเนื้อหาสาระ  8 กลุ่มสาระ    และการวางแผนจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย   และขั้นต่อไปคือเด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงทุกคน    และทุกวันศุกร์ครูจะโชว์และแชร์   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานร่วมกันในที่ประชุม  และตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันทุกคนมีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นได้  จากนั้นก็ประเมินผลและปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป  (ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน) 2 3  หลักสูตร

                                การเรียนการสอนยึดหลักสูตรแกนกลางเหมือนกันกับโรงเรียนทั่วๆ  ไป   แต่แตกต่างกัน ที่วิสัยทัศน์และปรัชญาแนวคิด    คือโรงเรียนนี้จะเน้นการพัฒนาคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข     และคนเราทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร

3.แนวคิดจากการดูงาน

1.ได้รู้ว่าการจัดการเรียนการสอน   โดยใช้หลักสูตรเดียวกันแต่กระบวนการจัดการเรียนรู้ต่างกัน 

ทำให้ผลผลิตออกมาไม่เหมือนกัน

2.ได้รู้ว่าคนเราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน  ไม่มีการแบ่งชนชั้น วรรณะ

3.ได้รู้ว่าการที่เราจะอยู่ในสังคมให้มีความสุขนั้นจะต้องมีความรักใคร่         สามัคคีปรองดองกัน 

เมื่อมีปัญหาต้องช่วยกันแก้ไข และยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นด้วย

4.ได้รู้ว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน  จะเห็นได้จากทุกคนมีส่วนร่วมในการทำให้โรงเรียนสะอาด 

โดยครูทำเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู  และนักเรียนก็ทำตาม

 

 

 

- 9 -

5.ครูจะใช้จิตวิทยาในการพัฒนาเด็ก  โดยใช้คำพูดที่นิ่มนวล   ไม่เสียงดัง ไม่ตะวาดเด็ก  ใช้

จิตวิทยาในการลดและการสร้างโดยใช้การเสริมแรงในทางบวกกับเด็ก เช่นไม่เปรียบเทียบไม่พูดด้านลบ  ไม่หลอกให้กลัว  ไม่ใช้ความรุนแรง  ไม่ยัดเยียดความรู้ก่อนวัยอันควร

6.ได้รู้ว่าการพัฒนาเด็กนั้น  จิตใจสำคัญที่สุด  ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทองหรือของมีค่าใดๆ

7.ได้รู้ว่าผู้ปกครองก็มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย นอกจากเราดูแลลูก

ของเราแล้วเราต้อง ดูแลและให้ความรักแก่ลูกคนอื่นด้วย  เพราะเราไม่ได้อยู่กับลูกเราตลอดชีวิต

8.ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น   ถ้ามีปัญหาหรืออุปสรรคให้เราย้อนมาดูที่ตัวเรา 

ให้ปรับปรุงตัวเองก่อนไม่ให้โทษคนอื่น

9.ปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ประสพผลสำเร็จ

10.ความรักใคร่สามัคคีปรองดองกัน    มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน    เมื่อมีปัญหา     พูดคุยปรึกษา

หารือกัน  และยอดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

11.ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน   ไม่มีคนจน   คนรวย   ไม่มีเด็กฝาก    ทำให้ทุกคนเสมอภาค

เท่าเทียมกัน

12.ความเสียสละและอุทิศเวลาเพื่อโรงเรียนอย่างแท้จริง  ทำงานอย่างมีความสุข  ไม่มีใครมา

บังคับเพราะทุกคนทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

13.การจัดการสอนการสอนเด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงและครูก็ประเมินขณะปฏิบัติและการทำงาน

ค่อนข้างต่อเนื่องไม่ขาดตอน  ทำให้เด็กได้เรียนรู้จริง ๆ

14.การจัดครูหลายคนต่อหนึ่งชั้นเรียนทำให้ดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง

15.ครูใช้ทฤษฎีตัวแบบ  คือทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และซึมซับไปใน

สมองได้ดีและยาวนาน

4. ท่านคิดว่าหลังจากดูงานแล้วจะนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้อย่างไร

1.พัฒนาตนเอง  คือตัวครูเอง  ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการวิเคราะห์หลักสูตรให้

ถ่องแท้  และต้องนำมาใช้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนของตนเองด้วย

2.พัฒนานักเรียน  คือ ครูต้องใช้ทฤษฎีตัวแบบ  ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างแล้วนักเรียนก็จะ

ทำตาม โดยที่ครูไม่ต้องบังคับ และใช้การเสริมแรงบวนกับนักเรียน ไม่พูดในด้านลบ  เพราะเด็กจะเสียใจ

3.ใช้กิจกรรมจิตศึกษาในการพัฒนาจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็ก   หลังจากดูงานแล้วจะนำสิ่งที่ดีที่

อยู่ในโรงเรียนนี้ไปปรับปรุงใช้กับโรงเรียนของเรา  เช่น

 

 

 

- 10 -

 

-         ความรักใคร่ สามัคคีของหมู่คณะ

-         การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-         เมื่อมีปัญหาต้องปรึกษาหารือกัน  ไม่โทษคนอื่นต้องดูที่ตัวเราก่อน

-         จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้เด็กได้ฝึกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  อยากรู้  อยากเรียน  ไม่ใช่ครูบังคับให้เรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- 11 -

 

กลุ่มที่ 3

  1. ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้

1.แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ    โดยเน้นกิจกรรมโครงงาน  มุ่งเน้นให้

นักเรียนคิดเป็น(Brain  Based Learning) ให้นักเรียนได้ศึกษาและเริ่มต้นหาคำตอบจากสิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว  นักเรียนอยากรู้  และที่นักเรียนควรรู้

2.หลักสูตรของอนุบาลที่ปรับให้เป็น 4 กระบวนการ  ได้แก่

-         การพัฒนาคลื่นสมอง

-         การพัฒนาร่างกายและสุนทรียภาพ

-         การพัฒนาการคิดและจินตนาการ

-         การพัฒนาด้านสติปัญญา

3.การประเมินผลจะเน้นมากโดยไม่มีการจัดลำดับที่    เพื่อไม่ให้มีข้อแตกต่างระหว่างบุคคล 

ส่วนการสอบทางโรงเรียนจะไม่มีโดยเน้นการประเมินแทน 2 ประการ  คือ

-         Authentic Assessment

-         On going  Assessment

4.Brain  Based  Learning  โดยจัดทุกหน่วยแบบบูรณาการ

2.กระบวนการ  /  แนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน

1. โรงเรียนมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ว่าให้ความสำคัญกับเด็กเท่าเทียนกัน  เพื่อไม่ให้

เกิดความแต่ต่างกัน

2. ด้านบุคลากร   เน้นการสัมพันธภาพของบุคลากรในองค์กร         แล้วร่วมกันสร้างกรอบแนวคิด 

วิสัยทัศน์ขององค์กร    เพราะฉะนั้น      ครูจึงมีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาโรงเรียนและพัฒนาการเรียนการสอน

3. บรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ดี   เพื่อให้นักเรียนซึมซับในสิ่งที่ดี     เพื่อให้นักเรียนได้คุ้นเคยและ

รู้จักคิดวิธีการรักษาความสะอาด

4. การดึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยมีการจัดอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการ

พัฒนานักเรียน      เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้       ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมการเรียนรู้ของบุตร

 

 

 

- 12 -

5. กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน  เริ่มจากวงจรต่อไปนี้

 

modify

 


 

action

plan

assess

knowledge

choice

act

Show&share

check

3.  แนวคิดที่ประทับใจ  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนเอง

1. การสร้างกิจกรรมให้นักเรียนได้ซึมซับ  เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์  โดยให้

นักเรียนได้ฝึกตัวเองจากสถานการณ์หรือบรรยากาศของโรงเรียนที่สะอาด เรียบร้อยว่าจะทำอย่างไร

2. การเรียนการสอนไม่ได้เอาความรู้เป็นที่ตั้ง  แต่เน้นกระบวนการคิดและการแสวงหา

ความรู้

3. บรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้     ซึ่งบริเวณโรงเรียนทุกส่วนสามารถจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียนได้  บรรยากาศที่ดีมาก ๆ  คือ  บรรยากาศคลื่นสมองต่ำ

4. ครูเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  โดยโรงเรียนเน้นการพัฒนาคน  (ให้ความสำคัญ)  เพราะ

ผู้บริหารเห็นความสำคัญ  ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

5. บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน  และใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่าง

คุ้มค่า

 

4.ปัจจัยหลักของโรงเรียนที่ทำให้การดำเนินงานได้สัมฤทธิ์ผล

1.บุคลากรมีความรู้ความสามารถ

2.งบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ

- 13 -

 

3.ความร่วมมือจากชุมชนและผู้ปกครอง

4.การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผล

 

5.ท่านคิดว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโรงเรียนของตนเองได้หรือไม่  อย่างไร

การนำความรู้จากการศึกษาดูงานครั้งนี้  คิดว่าสามารถนำไปใช้ได้ในบางเรื่อง  ที่ศักยภาพ

ของโรงเรียนของข้าพเจ้าทำได้   เช่น   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ   การจัดบรรยากาศการเรียนรู้แบบคลื่นความถี่ต่ำ  การทำเป็นแบบอย่างแก่นักเรียน  เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับและนำไปปรับใช้กับตัวเอง  การจัดผลประเมินผลตามสภาพจริง  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- 14 -

กลุ่มที่  4

1.ความรู้ที่ได้รับในการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

1.  วิธีการจัดการบริหารโรงเรียนที่มีความแตกต่างจากโรงเรียนอื่น ๆ  ในด้านของการ

คัดเลือก  การดูแล และวิธีการจัดการความรู้เด็ก

-          เห็นบุคลิกลักษณะ    และวิธีการของครูที่กระจำต่อเด็กแล้วเกิดผลดีต่อการเรียนรู้    และเป็นการส่งเสริมสภาพร่างกาย  สติปัญญา

-          การวัดผลและประเมินผลที่ไม่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของเด็กจากการสอบ   แต่จะดูที่ชิ้นงานที่ส่ง  ซึ่งทำให้ไม่เป็นการแบ่งชั้นด้านผลการเรียน

-          วิธีการเรียนโดยใช้โครงงานในเรื่องที่เด็กสนใจ   แล้วนำมาบูรณาการให้เข้ากับ 8    กลุ่มสาระการเรียนรู้       ซึ่งมีครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กขยายความคิดออกไปกว้าง ๆ   แล้วสร้างแผนผังความคิดของเด็ก  โดยครูเป็นผู้แนะนำและต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรที่เด็กยังไม่รู้  อะไรที่เด็กควรรู้  และอะไรที่ต้องได้รับเพิ่มเติม

2.วิธีดำเนินการ      กระบวนการของโรงเรียนที่ทำให้นักเรียนเก่ง  ดี     และมีความสุข

โรงเรียนมีวิธีการดำเนินการ 3  อย่าง  คือ

-     สัมพันธภาพของคน  สภาพแวดล้อม  สื่อและสิ่งเรียนรู้

-     พัฒนาหลักสูตรและการสอนโดยเน้นพัฒนาสมองแบบองค์รวม  ทักษะการคิดและ

      ทักษะการจัดความรู้

-     พัฒนาคุณภาพโดยจัดทุกหน่วยความรู้เป็นหน่วยบูรณาการในทุกด้าน    คือ     การ    

      ลงมือทำสู่ความเข้าใจ  ใส่ความคิดทุกชั่วโมงอย่างมีเหตุผล

2.แนวคิดที่ได้เพื่อนำไปใช้กับโรงเรียน

     1.นักเรียนทุกคนมีความเสมอภาค ไม่แบ่งชั้น ไม่แบ่งระดับ ไม่พูดด้านลบ ไม่เปรียบเทียบ

เพราะจะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี  ห้ามหลอกให้กลัว  ห้ามใช้ความรุนแรง  ห้ามยัดเยียดให้รู้ก่อนวัยอันควร

2. การสร้าง  ควรสร้างบรรยากาศคลื่นสมองต่ำ    คือ    ทำให้เกิดสมาธิพร้อมที่จะเกิดการ

เรียนรู้ในด้านต่างๆ    การใช้แจงจูงใจไม่บังคับ  การให้ความรัก  และให้เด็กได้แสดงพลัง

3.ปัจจัยหลักที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไม่เน้นหลักสูตรและความรู้  แต่จะเน้นกระบวนการคิด

และการแสวงหาความรู้  

- 15 -

-         มีหลักสูตรของผู้ปกครองเพื่อเชื่อมโยงความรู้ของเด็ก  และผู้ปกครองให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

-         วิธีการรับเด็กเข้าเรียนจะใช้วิธีการจับฉลาก  ไม่มีระบบอุปถัมภ์แต่มีเงื่อนไขว่า  ผู้ปกครองต้องสามารถมารับเด็กได้ทุกวัน  และดูแลเด็ก

-         เนื้อหาวิชาที่เรียน  เด็กเป็นผู้กำหนดหัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจ  โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง  และโดยงเข้ากับมาตรฐานการเรียนรู้

4.ท่านคิดว่าหลังจากดูงานจะนำไปใช้ได้อย่างไร

-         นักเรียนเป็นผู้เลือกหัวข้อที่จะเรียน

-         ระบบการรักษาความสะอาด  โดยการป้องกันที่ต้นเหตุไม่ให้แม่ค้าขายของในโรงเรียน

-         การให้เด็กแสดงความคิดของตนเองออกมาในรูปแบบของการทำโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- 16 -

กลุ่มที่ 5

1. ความรู้ที่ได้รับ  หลักสูตร / การวัดประเมินผล / การจัดการเรียนการสอน

หลักสูตรและการสอน    เน้นการพัฒนาสมองแบบองค์รวมฝึกทักษะการคิดและทักษะ 

การจัดความรู้   ปลูกฝังคุณธรรม    สอนเพื่อสร้างความเข้าใจ    เรียนรู้โดยการปฏิบัติ   โดยจัดหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเชื่อมโยง  8  กลุ่มสาระ     ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้  ส่งการประเมินผลโดยใช้เกณฑ์รูบริค  พัฒนาการเรียนการสอนอนุบาลสู่ ป.1  แบบผสมผสาน  พัฒนาคลื่นสมองด้วยโยคะ  ยิมนาสติก  แทนการนั่งสมาธิเพราะยังไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล (ยังไม่เข้าใจ)

 

2.ได้ดูวิธีการดำเนินการ / กระบวนการ / ครูมีส่วนร่วมอย่างไร

มาตรฐานหลักสูตรแกนกลางเดียวกันกับ   สพฐ.       มีความแตกต่างตรงวิสัยทัศน์ ใช้

กระบวนการเรียนรู้บูรณาการ   เด็กเลือกเรื่องที่จะเรียน   ครูทำแผนการสอนโดยคลอดคล้องกับ มฐ. 10 สัปดาห์   วัดประเมินเกณฑ์รูบริค   ใช้จิตวิทยา    จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์   ครูประจำกันทุกเย็น  ออกแบบการเรียนรู้    รับทราบปัญหา    ร่วมกันแก้ไข    นักเรียนมีความเท่าเทียมกัน   โดยการจับฉลาก    มาเข้าเรียน

3.ท่านได้แนวคิดอะไรที่เน้นจุดเน้น  เกิดขึ้นกับตัวเรา

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถือว่าได้ปฏิรูปการศึกษาที่สมบูรณ์         เพราะไม่มีหนังสือ

แบบเรียน  ส่งเสริมการเรียนรู้  โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้ปกครองมีส่วนร่วม    อยากนำส่วนนี้ไปจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะคำว่า    ให้เด็กแสวงหาความรู้   และฝึกคิดค้นด้วยตนเอง

4.ปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาประสบผลสำเร็จ

ปัจจัยสำคัญที่สามารถพัฒนาได้ขนาดนี้  คือ

1) งบประมาณ   เพียงพอดูจากบริบท  สื่อการเรียนรู้  ห้องเรียน  ค่อนข้างพร้อม

2) ผู้บริหาร  เป็นผู้มีความรู้ดี  เข้าใจการปฏิรูปการศึกษา  มีความเข้าใจในเรื่องจิตวิทยา 

     และการสานสัมพันธภาพเยี่ยม

3) ครู  อยู่ในวัยทำงาน  อายุเฉลี่ยไม่น่าจะเกิน 30 ปี  เงื่อนไข่ข้อบังคับในการรับครูก็น่า  

    จะเป็นส่วนสำคัญ  เพราะเลือกที่ความสามารถและจิตวิญญาณ  ครู  

 

 

- 17 -

4) นักเรียน   คัดมาการการจับฉลาก  ถือว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาได้ทุกคน  ตามพรบ.

     การศึกษา   ได้รับการฝึกฝนจากชั้นอนุบาลต่อยอดมาเรื่อย ๆ    โดยเฉพาะเรื่องการ

     พัฒนาคลื่นสมอง     ดังนั้น   จึงมีความพร้อม  เพราะใช้ทฤษฎี บำบัดตรงกับความ

     ต้องการของผู้เรียน  จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาได้ในทุก ๆ  ด้าน

5. ท่านคิดว่าหลังจากศึกษาดูงานแล้ว  จะนำไปใช้ที่โรงเรียนได้อย่างไร

                                1) สอนให้เด็กรู้จักคิด  และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

                                2) วางแผนการสอนให้ดีกว่าเดิม

                                3) สอนโครงงานมากขึ้น

                                4) ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์    พัฒนาสมอง    และให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้

                               มากขึ้น

                                5) อยากให้โรงเรียนน่าอยู่  แต่ไม่มีงบประมาณ  ทำอย่างไรดี

                                6) อยากประชุมผู้ปกครองด่วน  เพื่อสร้างความเข้าใจ  เรื่องการดูแลและสนใจการเรียนรู้          

                               ของลูก ทุกวันนี้  เด็ก ๆ  ถูกละเลยจากผู้ปกครอง  เกินกว่าครูจะเยียวยา

                                7) เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน  อยากให้เพื่อนครูมาดูทุกคน

 

 

 

 

 

 

 

 



ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
อังคาร ที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553
เข้าชม : 29808
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 อันดับล่าสุด

      การบริหารความเสี่ยง 8 / ส.ค. / 2554
      การเขียนบทความทางวิชาการ 2 / พ.ย. / 2553
      การเขียนบทความทางวิชาการ 2 / พ.ย. / 2553
      การคิดอย่างทองนพคุณ 4 / ก.ย. / 2553
      หลวงพ่อพระใส 26 / ส.ค. / 2553


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก