[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17)
บทความ



 

คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17)
นายภูมินันท์ ขวัญเมือง
                                                                                                   รอง ผอ.สพป.สป.2
----------------------------------
          เอกสารชุดนี้ เป็นคำอธิบายตัวบ่งชี้ในส่วนของการประเมินในด้านที่ 1  ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม               และจรรยาบรรณวิชาชีพ (ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ) และการประเมินในด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ                        มีรายละเอียดของคำอธิบาย ดังนี้
การประเมินด้านที่ 1  ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ)
          ในการประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ได้กำหนดรายการประเมินเป็น 5 ตอน ๆ ละ 5 ตัวบ่งชี้ และในแต่ละตัวบ่งชี้ มีเกณฑ์การให้คะแนน
ตามพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักฐานร่องรอย โดยกำหนดให้ผู้ขอรับการประเมินรายงาน
พฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และรวบรวม
เอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงานเพื่อรอรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินดังนี้
          ตอนที่ 1 การมีวินัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
                   ตัวบ่งชี้ 1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท
ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม หมายถึง การมีวินัยในตนเอง การยอมรับและ
ถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม การเป็น
แบบอย่างที่ดี และการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ
จรรยาบรรณวิชาชีพ
                   ตัวบ่งชี้ 1.2 การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึง
การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน
ของทางราชการ การมีส่วนร่วมเสริมสร้างวินัยแก่ผู้อื่น และผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดี
                    ตัวบ่งชี้ 1.3 การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียน
อย่างต่อเนื่อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับ
มอบหมายได้สำเร็จและอุทิศเวลาอย่างต่อเนื่อง
                   ตัวบ่งชี้ 1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ การักษาผลประโยชน์
ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการปฏิบัติงาน
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
การได้รับการยกย่อง ชมเชย
                   ตัวบ่งชี้ 1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน
องค์กร และชุมชน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีน้ำใจ เสียสละ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
          ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
                   ตัวบ่งชี้ 2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน
โดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่
ยอมรับ มีผลงานปรากฏชัดเจน และนำไปพัฒนาผู้อื่นได้
                   ตัวบ่งชี้ 2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตน
ตามหลักศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีได้รับการยกย่องชมเชย และมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
                   ตัวบ่งชี้ 2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม
และชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ตาม
หลักนิติธรรมได้รับการยกย่อง ชมเชย และมีการรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
                   ตัวบ่งชี้ 2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้สิทธิ
และหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
                   ตัวบ่งชี้ 2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม หมายถึง
การมีกิจกรรมที่ได้จัดหรือมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม
          ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
                   ตัวบ่งชี้ 3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
การมีพฤติกรรม/กิจกรรม ที่แสดงถึงการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
                   ตัวบ่งชี้ 3.2 การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด หมายถึง การมีพฤติกรรม
ที่แสดงถึงการเป็นผู้ละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด และเป็นผู้นำรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
อย่างต่อเนื่อง
                   ตัวบ่งชี้ 3.3 การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการให้เป็นไป
ด้วยความถูกต้อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและ
ของทางราชการได้ถูกต้องเหมาะสม และพัฒนาผู้อื่นในเรื่องดังกล่าวได้
                   ตัวบ่งชี้ 3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่
หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและ
ตำแหน่งหน้าที่ การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วม เสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
                   ตัวบ่งชี้ 3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/
กิจกรรมที่แสดงถึงการประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตเป็นที่ปรากฏ การได้รับ
กายยกย่องชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
          ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้
                   ตัวบ่งชี้ 4.1 การเป็นสมาชิกที่ดี สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและ
ทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพและ
วิชาการการนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์
เสริมสร้างผู้อื่นโดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
                   ตัวบ่งชี้ 4.2 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ มาใช้พัฒนางาน
ในวิชาชีพ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรม ในการพัฒนางาน
ในวิชาชีพจนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
                   ตัวบ่งชี้ 4.3 การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพ หมายถึง
การมีบทบาทการเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา
                   ตัวบ่งชี้ 4.4 การรักษาชื่อเสียงปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ
หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึงการรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรี
แห่งวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดผลดีเป็นที่ยอมรับและ
การมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
 
                   ตัวบ่งชี้ 4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดี แก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม หมายถึง
การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้นำในการเสริมสร้าง ปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม
ผลงานที่ปรากฏ และการได้รับการยกย่อง ชมเชย
 
          ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้
                   ตัวบ่งชี้ 5.1 การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้
โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่
ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน และ
เกิดผลดีต่องานในหน้าที่และได้รับการยกย่องโดยมีผลงานปรากฏอย่างต่อเนื่อง
                   ตัวบ่งชี้ 5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการ เต็มความสามารถ
ตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดง
ถึงการเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพ อย่างสม่ำเสมอ
เท่าเทียมกัน โดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
                   ตัวบ่งชี้ 5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมในการพัฒนา
งานในหน้าที่ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรม ในการพัฒนา
งานในหน้าที่จนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
                   ตัวบ่งชี้ 5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผน
พฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและ
แบบแผน พฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพการได้รับการยกย่องชมเชย ในระดับจังหวัด
/เขตพื้นที่การศึกษา/คุรุสภา/องค์กรภายนอก/หน่วยงานอื่น
                   ตัวบ่งชี้ 5.5 การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง
พฤติกรรมที่แสดงถึงการให้การช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวมอย่างทุ่มเทและเสียสละ
จนสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และได้รับการยกย่อง               
 
 
การประเมินด้านที่ 2  ด้านความรู้ความสามารถ สายงานการบริหารการศึกษา (ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
การประเมินด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสมารถของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานบริหารการศึกษา มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ความสามารถในการบริหารและการจัดการศึกษา 60 คะแนน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ และส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการบริหารและการจัดการศึกษา 40 คะแนน มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความสามารถในการบริหารและการจัดการศึกษา (60 คะแนน)
1. การบริหารงานทั่วไป
          ตัวบ่งชี้ 1.1 ความสามารถในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึงความสามารถในการจัดให้มีข้อมูลสารสนเทศที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลภายในหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบถูกต้องเป็นปัจจุบันและสามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และหลายช่องทาง
          ตัวบ่งชี้ 1.2 ความสามารถในการวางแผนการพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีในการบริหารจัดการการศึกษาครอบคลุมภารกิจขององค์กรและสอดคล้องกับนโยบายทุกระดับ หมายถึง
ความสามรถในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค และใช้นวัตกรรมเพื่อการวางแผนครอบคลุมภารกิจและสอดคล้องกับนโยบายทุกระดับโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
          ตัวบ่งชี้ 1.3 ความสามารถในการดำเนินการนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม หมายถึง ความสามารถในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดยการประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจการสนับสนุนทรัพยากรให้กับผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติได้ เป็นไปตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนด
          ตัวบ่งชี้ 1.4 ความสามารถในการประสานงาน ระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมการจัดการศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน หมายถึง ความสามารถในการระดมทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอกทั้งภารัฐและเอกชนในด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ ด้านสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และอื่นๆ เพื่อการจัดการศึกษา
          ตัวบ่งชี้ 1.5 ความสามารถในการกำกับตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศ การปฏิบัติตามแผนงานของเขตพื้นที่การศึกษา หมายถึง ความสามารถในการกำกับตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศ โดยมีแผน เครื่องมือ และมอบหมายบุคลากรในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนำผลมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 
2. การพัฒนาด้านวิชาการ
          ตัวบ่งชี้ 2.1 ความสามารถในการพัฒนาด้านวิชาการ หมายถึง ความสามารถในการจัดให้มีข้อมูลสารสนเทศด้านวิชาการ การส่งเสริม การวิจัยและนำผลงานวิจัยมาใช้ การจัดทำแผนพัฒนางานวิชาการ จัดเครือข่ายทางวิชาการและการจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมความเข้มทางวิชาการ
          ตัวบ่งชี้ 2.2 ความสามารถในการส่งเสริมการใช้และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน หมายถึงความสามารถในการส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร นำหลักสูตรไปใช้ มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
          ตัวบ่งชี้ 2.3 ความสามารถในการส่งเสริม สนับสนุน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง ความสามารถในการส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดหา พัฒนาและใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจัดหาแหล่งบริการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมีการจัดศูนย์บริการสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา และมีเว็บไซต์ทางด้านวิชาการที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          ตัวบ่งชี้ 2.4 ความสามารถในการจัดการระบบประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง ความสามารถในการจัดการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยมีข้อมูลสารสนเทศในระบบประกัน และส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำรายงานการพัฒนาตนเอง มีการมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบ มีการประเมิน ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษานำผลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเปิดเผยต่อสาธารณชน
3. การบริหารงานบุคคล
          ตัวบ่งชี้ 3.1 ความสามารถในการสรรหา บรรจุและแต่งตั้งบุคลากรตามหลักธรรมาภิบาล หมายถึง ความสามารถในการบริหารบุคลากร โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีแผนอัตรากำลัง มีการสรรหาบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความ ถูกต้องรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม
          ตัวบ่งชี้ 3.2 ความสามารถในการพัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการพัฒนาบุคลากร โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศความต้องการพัฒนามีแผนและกระบวนการพัฒนามีเครือข่ายการพัฒนา มีการติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร
          ตัวบ่งชี้ 3.3 ความสามารถในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ หมายถึงความสามารถในการส่งเสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ยกย่อง ชมเชย เชิดชูเกียรติ ให้รางวัลบุคลากรที่ผลงานดีเด่นและส่งเสริมการศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ รวมทั้งให้บำเหน็จความชอบ
4. การบริหารงบประมาณ การเงินและสินทรัพย์
          ตัวบ่งชี้ 4.1 ความสามารถในการบริหารการเงินและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการจัดระบบบิหารจัดการงบประมาณ โดยมีแผนงบประมาณมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารงบประมาณ การทำรายงานทางการเงิน และมีระบบตรวจสอบภายใน
          ตัวบ่งชี้ 4.2 ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพย์สินของทางราชการให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพย์สินของทางราชการให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าโดยจัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน มีการจัดซื้อ จัดหา เป็นไปตามระเบียบตรงกับความต้องการและความจำเป็นมีการใช้และบำรุงรักษาทรัพย์สินมีการตรวจสอบพัสดุประจำปี การจำหน่ายพัสดุ และมีการรายงานผล
5. งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
          ตัวบ่งชี้ ผลสัมฤทธิ์ของงานที่ไดรับมอบหมาย หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง รวดเร็ว บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการบริหารและการจัดการศึกษา (40 คะแนน)  การพัฒนาตนเอง
          ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีการศึกษาหาความรูด้วยตนเองด้วยการเข้าประชุม อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน ศึกษาเพิ่มเติมหรือวิธีการอื่นๆ หมายถึง การพัฒนาตนเองด้วยวิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การเข้าประชุม อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน ศึกษาเพิ่มเติม ศึกษาด้วยตนเอง หรือวิธีการอื่นๆ รวมทั้งการนำผลการพัฒนาเหล่านั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางาน
          ตัวบ่งชี้ที่ 2 มีการรวบรวมและประมวลความรู้ในกาพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ หมายถึง               การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ ปรับปรุงให้ทันสมัย รวบรวมองค์ความรู้สำคัญ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางาน
          ตัวบ่งชี้ที่ 3 มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในหมู่เพื่อนร่วมงาน หมายถึง การเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน และมีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้แก้ปัญหาและพัฒนางาน
          ตัวบ่งชี้ที่ 4 มีการเผยแพร่องค์ความรู้ภายในและหรือภายนอกหน่วยงาน หมายถึง การเผยแพร่    องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เว็บไซต์    เป็นวิทยากร หือที่ปรึกษาทางวิชาการ และอื่นๆ
          ตัวบ่งชี้ที่ 5 ได้รับรางวัลจากต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่น หมายถึง การที่ผู้ขอรับการประเมินหรือหน่วยงานของผู้ขอรับการประเมินได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับหน่วยงานต้นสังกัดหรือรางวัลจากหน่วยงานอื่นตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป
          ตัวบ่งชี้ที่ 6 การเป็นสมาชิกหรือการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรวิชาการหรือองค์กรวิชาชีพ หมายถึง การเป็นสมาชิกหรือเป็นกรรมการหรือคณะทำงาน หรือเข้าร่วมกิจกรรม หรือเป็นผู้นำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานในกิจกรรมขององค์กรวิชาการหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง


ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
พฤหัสบดี ที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555
เข้าชม : 8861
2.5 stars เฉลี่ย : 2.5 จาก 11 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก