[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : การเตรียมตัวรับภัยพิบัติ
บทความ



 

โดยนายสุพจน์ กล้าหาญ                  
                       การเตรียมตัวสู้ภัยธรรมชาติ                                    
การเตรียมตัวรับพายุหมุนเขตร้อน                                                         
                      พายุหมุนเขตร้อนมักใช้เวลาในการก่อตัวหลายวันจึงจะเคลื่อนที่ไปยังชายฝั่ง ส่วนใหญ่พายุจะก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่หากก่อตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะเรียกว่า พายุไซโคลน” ซึ่งแม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลจากการเกิดพายุดังกล่าวทำให้ฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำท่วมได้ ซึ่งการเตรียมตัวรับพายุหมุนเขตร้อนอาจทำได้ดังนี้
o                    เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอยู่เสมอ หากอยู่ในทะเลต้องนำเรือให้เข้าสู่ชายฝั่งโดยเร็วที่สุด และไม่ควรหลบเข้าไปในเกาะเพราะหากเกิดพายุรุนแรงมากจะไม่ปลอดภัย
o                    เมื่อเข้าถึงชายฝั่งแล้วให้รีบออกห่างจากชายฝั่งทันทีและต้องอพยพไปยังที่ที่ปลอดภัย เช่น อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่แข็งแรง สามารถต้านทานแรงลมได้ และยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากภัยที่จะมาพร้อมกับการเกิดพายุ เช่น น้ำท่วมหรือดินถล่ม เป็นต้น
o                    หากพื้นที่ใดมีคำเตือนให้อพยพ ต้องอพยพไปยังที่ปลอดภัยทันที
o                    ให้จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพ เช่น อาหารแห้ง น้ำสะอาด ยา ไฟฉายพร้อมถ่าน วิทยุ ฯลฯ ไว้ในที่พัก เพราะพายุหมุนเขตร้อนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และน้ำที่ท่วมขังอาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง เป็นต้น

หากไม่สามารถหลบออกไปจากสถานที่เกิดเหตุให้อยู่ในที่พักจนกว่าเหตุการณ์ลมพายุจะสงบและได้รับแจ้งว่าเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว เพราะเมื่อพายุหมุนเขตร้อนผ่านเข้ามาลักษณะอากาศจะเลวร้าย มีพายุ ฝนฟ้าคะนอง แต่หากตาพายุหมุนเขตร้อนผ่านมา ท้องฟ้าจะแจ่มใส อากาศดี จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ และเมื่อด้านหลังของพายุมาถึงสภาพอากาศก็จะเลวร้ายลงไปอีกและมีความรุนแรงมากกว่าเดิม  สำหรับการวางแผนและการป้องกันความสูญเสียจากพายุหมุนเขตร้อน ควรจัดมาตรการป้องกันและลดความสูญเสียโดยมีการส่งคำเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบก่อนการเกิดพายุหมุนเขตร้อน พร้อมกับซ้อมการอพยพคนในพื้นที่เสี่ยงภัย การเตรียมด้านการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังต้องรักษาสภาพของป่าไม้ ปรับปรุงสภาพแม่น้ำไม่ให้ตื้นเขิน และหากเกิดพายุหมุนแล้วควรมีมาตรการช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เช่น การจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย และควรให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

 



ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
อังคาร ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ.2554
เข้าชม : 1981
3 stars เฉลี่ย : 3 จาก 1 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก