[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้
บทความ



 

เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้?
โดยสุพจน์ กล้าหาญ
         เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้
           จากเหตุการณ์ไม่คาดฝันคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ของประเทศไทย และอีกหลายประเทศแถบมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายปี 2547 ยังไม่ทันจางหาย ก็เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ประเทศจีน ตามมาด้วยพายุพัดถล่มญี่ปุ่น และไต้หวัน รวมถึงภาคเหนือของประเทศไทย และที่หนักที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกาก็คือ พายุเฮอริเคนพัดถล่มทางภาคใต้ของประเทศ สร้างความเสียหายไม่ต่ำกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท...
            ต่อมาในปีนี้ พาเหรดน้ำท่วมได้ย้อนรอยสร้างความเสียหายมหาศาลในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งรุนแรงและครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าเดิม... เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงดึงความสนใจของมนุษย์โลก โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ให้หันกลับมาตั้งคำถามด้วยความวิตกกังวลว่า เกิดอะไรขึ้นกับโลก?”  
              นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกพยายามหาคำตอบในเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามตั้งสมมติฐาน (ที่ยังรอคำตอบ) ว่า หายนะบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นผลพวงมาจากปรากฏการณ์ Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
 
                 ชวนให้หันกลับไปทบทวนในเรื่อง ภาวะเรือนกระจก (Green house effect)”ที่อาจโยงใยกับหายนะต่างๆ เหล่านี้
 
           ภาวะเรือนกระจกเป็นภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นจึงคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งส่วนมากเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ก๊าซนี้มีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดี พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย 
               20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพบว่า อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเฉลี่ย 0.5 องศาเซลเซียส สำหรับคนทั่วไปอาจเป็นตัวเลขที่ไม่น่าตื่นเต้น แต่กลับภูมิอากาศ หากลองได้เปลี่ยนแล้ว ผลลัพธ์ไม่ได้ น้อยนิด ตามตัวเลขที่ปรากฎเลย...มีรายงานผลการวิจัยว่าในรอบ 40 ปี หากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเพียง 0.6 หรือ 1 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของภัยธรรมชาติทางอากาศ เช่น พายุหมุน เพิ่มขึ้น 4-5 เท่าตัว  ในขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าภัยธรรมชาติที่เกี่ยวกับอากาศและเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น พายุพัดถล่มในประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำท่วม ภัยแล้ง ที่มีระดับความรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
             จากการศึกษาของศาสตราจารย์แคร์รี เอ็มมานูเอล (KerryEmanuel) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเสตส์หรือเอ็มไอที (MIT) พบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ 1970 เป็นต้นมา พายุลูกใหญ่ โดยเฉพาะ พายุเฮอร์ริเคนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก เพิ่มความรุนแรงของแต่ละลูกมากกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซนต์ ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือ ความร้อนเหนือน้ำทะเลที่สูงขึ้น
รายงานการศึกษาเกี่ยวกับพายุโซนร้อนหรือพายุหมุนเขตร้อน “Increasingdestructiveness of tropical cyclones over the past 30 years” ของศ. แคร์รี เอมมานูเอล ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับที่ 436 ประจำวันที่ 4 สิงหาคม 2548
 
พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane)  คือพายุหมุนชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อจุดใดจุดหนึ่งในทะเลมีความร้อนสูงกว่าปกติ และเมื่ออุณหภูมิ ณ ระดับน้ำทะเลสูงไม่เท่ากัน จึงเกิดการดึงมวลอากาศเข้าหา กลายเป็นพายุหมุนขึ้นมา น้ำทะเลร้อนเท่าไร พายุก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น ซีกโลกภาคเหนือ ช่วงที่ตรงกับปลายฤดูร้อน น้ำทะเลจะร้อนที่สุด ดังนั้นพายุจึงรุนแรงที่สุด โชคร้ายของปีที่แล้วจึงตกเป็นของชายฝั่งสหรัฐอเมริกา...เฮอริเคนแคทรินา 
 
[นักวิทยาศาสตร์เรียกพายุหมุนที่เกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน และในอ่าวเม็กซิโก เรียกชื่อว่า พายุเฮอริเคน แต่หากพายุหมุนเกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และในทะเลจีนใต้ ว่า พายุไต้ฝุ่น ซึ่งเราค่อนข้างคุ้นเคยกับชื่อนี้ จริงๆ แล้ว พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกมากกว่า 2 ชื่อนี้ หากผู้อ่านสนใจ เข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในหัวข้อพายุหมุนเขตร้อน คือ http://www.tmd.go.th/knowledge/know_storm01.html]
 
ผลจากการวิจัยของศ. เอมมานูเอล ผู้ที่ให้เหตุผลของการมาของเฮอร์ริเคนแคทรินา และปลุกให้คนอเมริกัน และคนทั่วโลกเห็นถึงภัยของโลกร้อน ทำให้เขาได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้มีอิทธิพลของโลก (TIME 100: The People Who Shape Our World) ประจำปี 2549 ในสาขานักวิทยาศาสตร์และนักคิด (Scientists & Thinkers)
 
(ภาพซ้าย) ศาสตราจารย์แคร์รี เอมมานูเอล (Kerry Emanuel) ที่มาภาพ: http://www.time.com/time/2006/time100
ผลการวิจัยของเขาช่วยตอกย้ำให้ข้อถกเถียงเรื่องโลกร้อน เข้มข้นยิ่งขึ้น และทำให้หลายคนในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง 
หากโลกร้อนได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหายนะบนโลกใบนี้ จะเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตอบสนอง คงไม่ผิด
 


ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
พุธ ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553
เข้าชม : 2678
1 stars เฉลี่ย : 1 จาก 5 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก