[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


กลุ่มบริหารงานบุคคล
เรื่อง : เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
บทความ



 

       ข้อควรระวังในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

1.ก่อนจับต้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องแน่ใจว่ามือของท่านสะอาด

2.หลีกเลี่ยงการจับต้องตัวเหรียญโดยตรงเพราะนิ้วมือมีคราบเหงื่อจะทำให้เป็น

รอยด่าง เกิดคราบสกปรกในเวลาต่อมา

3.การจับต้องเหรียญ ดวงตรา ดารา ควรจับที่ขอบนอกของเหรียญให้กระชับและ

มั่นคงป้องการการตกหล่น  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ   นิ้วชี้   นิ้วกลางและนิ้วนางประคอง หรือจะจับบริเวณหูห้อยของแพรแถบเหรียญก็ได้ ถ้าเป็นดวงตรา   ดวงดารา   ควรจับที่ขอบนอกดังกล่าวแล้วยกขึ้นวางบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่งป้องกันการพลัดหล่น

4.ถ้าเป็นไปได้ควรสวมถุงมือ เพื่อป้องกันคราบเหงื่อที่จะทำให้เกิดคราบสกปรก

5.ระวังการกระทบกระแทกกับของแข็ง หรือตกหล่นจะทำให้ส่วนลงยากระเทาะ เหรียญจะบุบชำรุด

6.ขณะสวมสายสะพายควรระมัดระวังการนั่ง   การยืน   เพราะดวงตรา  ดวงห้อย

สายสะพาย จะกระทบกระแทกกับของแข็ง หรือเกี่ยวกับสิ่งของข้างเคียง

7.ควรแน่ใจว่าสปริงขอเกี่ยวดวงตรายังแข็งแรงดี จะได้ไม่เกิดปัญหาขณะใช้ประดับ

8.เมื่อสอดก้านเสียบของดวงดาราเข้ากับตัวหนอนแล้ว ควรตรวจดูว่าได้สอดส่วนปลาย

 ของก้านเสียบเข้าขอเกี่ยวให้มั่นคงดีแล้ว

9.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายควรเย็บตรึงดวงตราห้อยสายสะพายไว้กับ

สายสะพาย เพื่อป้องกันการชำรุดหรือตกสูญหาย

10.สายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ควรปรับความยาวให้ได้พอเหมาะกับความสูงของแต่ละบุคคล

                                            การเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์

           เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเป็นศิลปวัตถุเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแสดงความเป็นเอกลักษณ์ ของชาติไทยมาแต่โบราณพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพระราชทานให้ประดับเป็นเกียรติยศแก่ผู้มีความชอบในทางราชการและส่วนพระองค์เป็นเครื่องหมายแสดงความชอบของผู้ประกอบคุณงามความดีบุคคลมีสิทธิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เสมอกัน ถ้าได้ประกอบคุณงามความดีทัดเทียมกัน

            เครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อมมีการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายได้ตามธรรมชาติ  หรือจากการใช้งาน การเสื่อมสภาพจากสาเหตุต่าง ๆ ย่อมจะป้องกันได้ด้วยการดูแลเก็บรักษาไว้ในสถานภาพที่เหมาะสม  ระมัดระวังในการประดับไปในงานต่าง ๆ

            เครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็จะคงสภาพเดิมได้นานเท่านานการจะยืดอายุการใช้งานได้โดยไม่ต้อง จ่ายค่าบำรุงรักษาเพิ่ม และจะเป็นการช่วยกันรักษาเครื่องประดับเกียรติยศอันเป็นมงคลและสูงค่าของชาติ ให้คงสภาพดี พร้อมที่จะใช้ประดับได้ตลอดเวลาทั้งจะเป็นการช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของทาง ราชการได้ด้วย

                    การเสื่อมสภาพของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ อาทิเช่น

                          1. การขาดความระมัดระวังในการจับต้อง การเก็บรักษา การใช้ประดับ ย่อมจะเกิดการเสื่อมสภาพ สภาพได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

                          2. การเก็บไว้ในสถานที่ที่สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี     อากาศไม่ดี  มีแก๊สเสียชนิดต่าง  ๆ   ความร้อนสูง ความชื้นมาก แสงแดงส่องอุณหภูมิไม่คงที่

                           3. การมีสัตว์แมลงต่าง ๆ เข้าไปทำความสกปรก ทำลายผ้าแพรแถบได้  เช่น  ตัวสามง่ามกินผ้า มด แมลงสาบ ปลวก แมลงปีกแข็ง

                           4. การเกิดเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา ความชื้นจะทำให้เกิดกลิ่นและก๊าซเมื่อก๊าซกระทบกับอากาศ จะเปลี่ยนเป็นกรด ก๊าซเหล่านี้ จะทำปฎิกริยากับโลหะวัตถุที่ใช้ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำให้เสื่อมสภาพบน เนื้อวัตถุ

 

 

 

 

วิธีการเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์

                         1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นของสูง ควรเก็บรักษาในที่สูง เหมาะสม ควรแก่การเคารพบูชา เป็นการแสดงความจงรักภักดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้พระราชทานจะเป็นมงคลสูงสุด ก่อให้เกิดความสุข ความเจริญ แก่ตนเองและครอบครัว

                         2. ควรเก็บในที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย

                         3.ภายหลังการใช้ประดับแต่ละครั้ง ควรใช้ผ้าสะอาด นุ่น ทำความสะอาดเบา ๆ แล้วห่อด้วย กระดาษแก้วไว้ให้มิดชิด นำใส่กล่องปิดฝาให้สนิท ป้องกันฝุ่นละอองและไม่ให้กระทบกับอากาศ

                        4.ไม่ควรเก็บในสถานที่ที่มีแดดส่องตลอดเวลา หรือมีแสงไฟร้อนแรง และต้องไม่อับชื้น ปกติมัก จะเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเป็นห้องปรับอากาศได้จะดีที่สุด

                         5.ดวงตรา ดารา และเหรียญอิสริยาภรณ์ อาจเสื่อมสภาพได้จากความไม่บริสุทธิ์ของอากาศ ฝุ่นละออง ก๊าซเสียชนิดต่าง ๆ ถ้าเก็บไว้ในตู้นิรภัย หรือตู้เหล็ก ควรห่อให้มิดชิดตามข้อ 3 เพราะสีที่ใช้พ่นหรือทาตู้เหล็ก จะทำปฏิกิริยากับโลหะเงิน และจะทำให้เงินดำ

                         6.ไม่ควรใช้สารกันแมลงชนิดต่าง ๆ เนื่องจากเมื่อสารระเหยออกมา จะทำปฏิกิริยากับ โลหะเงินและส่วนที่กะไหล่ทอง ในเครื่องหมายแพรปัก ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำได้

                          7.สายสะพายและแพรแถบทอด้วยด้ายและใยไหม ควรเก็บในที่ไม่ร้อน ไม่อับชื้น เพราะความ ร้อนและความชื้นจะทำให้เนื้อผ้า ยืดขยาย และหดตัวอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เนื้อผ้าแห้งแข็งกรอบ ถ้ามีความชื้น ทำให้เนื้อผ้ายุ่ยเปื่อย อาจเกิดเชื้อรา และรอยด่าง อายุการใช้งานจะสั้น

                          8.แสงสว่างเป็นอันตรายต่อสีของผ้า สายสะพายและแพรแถบ แสงจะทำให้สีของผ้าซีดได้เร็ว ควรเก็บในตู้ทึบแสง ในห้องปรับอากาศได้ก็จะดี

                           9.ผ้าสายสะพายควรเก็บโดยมีวิธีม้วนเป็นวงกลม ผ้าจะได้ไม่ยับ หรือเก็บโดยวิธีวางได้ตามยาว การเก็บโดยวิธีพับซ้อนกัน จะทำให้เกิดรอบพับ จะเกิดรอยด่าง สีซีดตามแนวของรอยพับนั้น

                          10.เมื่อเก็บไว้โดยมิได้นำมาประดับเป็นเวลานาน ควรตรวจสอบบ้างเป็นครั้งคราว

 

 

 

วิธีการทำความสะอาดเครื่องราชอิสริยาภรณ์

                         โดยปกติถ้าได้เก็บรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว ดวงตรา ดารา และเหรียญต่าง ๆ จะคงสภาพเดิมอยู่ ได้นาน แต่ถ้าเกิดเป็นรอยด่างดำไม่สวย นิยมใช้ผงขัดเงินกับแปรงขนอ่อนนิ่ม ๆ ไม่ควรใช้ผงขัดหรือผงซักฟอก เพราะจะทำให้เป็นรอยขีดข่วนบนหน้าเหรียญ ผงขัดทองเหลืองไม่ควรใช้เพราะจะทำให้ลวดลายลบเลือน ไซยาไนต์ทำให้เงินขาวดีแต่จะเกิดปฏิกิริยาแรงเกินไป และเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ ท่านที่ต้องการทำความ สะอาดด้วยตนเอง แต่ถ้ายังไม่ชำนาญควรถามผู้รู้



ผู้เขียน : ขนิษฐา เอื้อนจิตร
หน่วยงาน : สพป.สมุทรปราการ เขต 2
จันทร์ ที่ 19 เดือน กันยายน พ.ศ.2554
เข้าชม : 3250
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 127 ครั้ง.


กลุ่มบริหารงานบุคคล 5 อันดับล่าสุด

      ผู้นำที่พึงประสงค์ ต่อ การบริหารองค์การ Desirable Leaders in Organizational Management. 19 / เม.ย. / 2561
      คติธรรม 19 / ก.ย. / 2554
      คติธรรม 19 / ก.ย. / 2554
      เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 19 / ก.ย. / 2554
      เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 19 / ก.ย. / 2554


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก